วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

สถานที่ท่องเที่ยว ภาคกลาง / กาญจนบุรี / ข้อมูล สถานที่ ท่องเที่ยว

ข้อมูลทั่วไป
กาญจนบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางที่มีผู้คนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจ เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ตั้งของสะพานข้ามแม่น้ำแควซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็น ป่าเขาลำเนาไพร ถ้ำหรือน้ำตก รายละเอียด...
การเดินทาง
รถยนต์ ไปตามถนนเพชรเกษมหรือไปตามถนนบรมราชชนนี ผ่านนครชัยศรี นครปฐม บ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วง ถึงจังหวัดกาญจนบุรี รวมระยะทาง ๑๒๙ กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง รายละเอียด...


เอราวัณ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี น้ำตกเอราวัณเป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ด้วยอาณาเขตกว้างขวางประกอบไปด้วยภูเขาสูง หน้าผา น้ำตก ถ้ำ และทิวทัศน์ที่งดงามตามธรรมชาติ ทั้งการคมนาคมที่สะดวก จึงทำให้อุทยานแห่งชาติเอราวัณเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเป็นอันมาก โดยมีเนื้อที่ประมาณ 550 ตารางกิโลเมตร หรือ 343,750 ไร่ รายละเอียด...
เฉลิมรัตนโกสินทร์
อุทยาน เฉลิมรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีเนื้อที่ค่อนข้างน้อย แต่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และมีจุดเด่นเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก หน้าผา และถ้ำธารลอด ที่นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดจากการยุบตัวของหินปูนและการกัดเซาะของน้ำ ทำให้เขาหินปูนกลายเป็นสะพานธรรมชาติขนาดมหึมา ตลอดจนเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการเดินทัพของพม่าและกองทัพญี่ปุ่น อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 59 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,875 ไร่ รายละเอียด...


ไทรโยค
อุทยาน แห่งชาติไทรโยค มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งแต่ครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสน้ำตกไทรโยค และได้ลงสรงน้ำในธารน้ำ หลังจากนั้นน้ำตกไทรโยคจึงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและผู้คนโดยทั่วไป ดั่งเพลง"เขมรไทรโยค" เป็นเพลงไทยอมตะ บรรยายถึงความซาบซึ่งในธรรมชาติ และความงามของน้ำตกไทรโยค ยังความประทับใจแก่ชาวไทยมาตราบเท่าทุกวันนี้ อุทยานแห่งชาติไทรโยค มีเนื้อที่ 500 ตารางกิโลเมตร หรือ 312,500 ไร่ รายละเอียด...
สถานที่น่าสนใจ อ.เมือง
สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก ตั้งอยู่ริมถนนแสงชูโต (ทางหลวงหมายเลข ๓๒๓) ก่อนจะเข้าตัวเมือง สุสานแห่งนี้เป็นสุสานของเชลยศึกสัมพันธมิตรที่เสียชีวิตในระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะ บริเวณสุสานมีเนื้อที่กว้างขวางสวยงามและเงียบสงบ ชวนให้รำลึกถึงเหตุการณ์การสู้รบและผลลัพธ์ที่ตามมา สุสานแห่งนี้บรรจุศพทหารเชลยศึกถึง ๖,๙๘๒ หลุม รายละเอียด...


ไทรโยค
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ อยู่ห่างจากพิพิธภัณฑสถานบ้านเก่าประมาณ ๗ กิโลเมตร เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒๓ เส้นทางสายกาญจนบุรี-ไทรโยค จนถึงกิโลเมตรที่ ๑๕ จะมีทางแยกซ้ายไปปราสาทเมืองสิงห์อีก ๗ กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีศิลปะการก่อสร้างอยู่ในยุคลพบุรีตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖–๑๘ ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีเนื้อที่ประมาณ ๖๔๑ ไร่ ๑ งาน ๖๕ ตารางวา กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงขนาดกว้าง ๘๘๐ เมตร โดยได้รับอิทธิพลทางศาสนา และวัฒนธรรมจากกัมพูชา ตัวปราสาทล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง คูน้ำ และแนวคันดิน รูปแบบสถาปัตยกรรมและประติมากรรมสร้างตามลักษณะขอมแบบบายน ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ของประเทศกัมพูชาที่มีลักษณะช่างท้องถิ่นผสมอยู่ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐ น. ค่าเข้าชมสำหรับชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๔๐ บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. (๐๓๔)๕๙๑๑๒๒, ๕๙๑๓๓๔ รายละเอียด...
ทองผาภูมิ
พุน้ำร้อนหินดาด เดิมเรียกว่าน้ำพุร้อนกุยมั่ง การเดินทางสามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒๓ กิโลเมตรที่ ๑๐๕–๑๐๖ อยู่ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรี ๑๓๕ กิโลเมตร พุน้ำร้อนหินดาด เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติริมลำธาร ค้นพบโดยทหารญี่ปุ่นและได้สร้างเป็นบ่อซีเมนต์ เชื่อกันว่าน้ำแร่จากบ่อน้ำร้อนแห่งนี้ มีสรรพคุณในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บหลายอย่าง เช่น โรคเหน็บชา ไขข้ออักเสบ นักท่องเที่ยวสามารถลงอาบน้ำในบ่อได้ รายละเอียด...


สังขละบุรี
สังขละบุรี เป็นอำเภอที่ติดต่อกับชายแดนพม่า ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีประมาณ ๒๑๕ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒๓ เส้นทางนี้ตัดผ่านภูเขาเลียบทะเลสาบเขื่อนวชิราลงกรณ จะสามารถมองเห็นทัศนียภาพทะเลสาบที่งดงาม ตัวอำเภอสังขละบุรีตั้งอยู่บริเวณที่ลำน้ำสามสายมาบรรจบกันอันได้แก่ ห้วยซองกะเลีย ห้วยบีคลี่และห้วยรันตี รวมเรียกว่า “สามประสบ” ไหลรวมกันเป็นแม่น้ำแควน้อย อำเภอสังขละบุรีเป็นอำเภอที่มีชาวมอญตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงสามารถพบเห็นวิถีชีวิตประเพณีเก่าแก่แบบดั้งเดิมของชาวมอญ ณ ที่แห่งนี้ รายละเอียด...
ศรีสวัสดิ์
สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาน้ำพุ ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรี ๕๕ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๑๙๙ (กาญจนบุรี-ศรีสวัสดิ์) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๓๘–๓๙ ขึ้นอยู่กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ ศูนย์แห่งนี้เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติ มีการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเพื่อการศึกษาวิจัย จัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติสื่อความหมายให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพป่าแบ่งออกเป็น ๒ เส้นทาง เส้นทางที่ ๑ เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาธรรมชาติพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ ๓ ชั่วโมง และเส้นทางที่ ๒ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเนินดินแดงใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ตามเส้นทางผ่านภูมิประเทศที่แตกต่างกันเช่น ลำห้วย ลำธาร ทางราบ เนินเขา ในบริเวณศูนย์แห่งนี้มีค่ายพักแรมสำหรับเยาวชน สามารถติดต่อล่วงหน้าโดยทำหนังสือถึงส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า เรียนผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. ๕๖๑–๔๒๙๒-๓ ต่อ ๗๐๘, ๗๕๖ หรือ ๕๖๑–๒๙๑๗ หรือ สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาน้ำพุ ตู้ ปณ.๕ ลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี ๗๑๑๙๐ รายละเอียด...


บ่อพลอย
บ่อพลอยอยู่ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีประมาณ ๔๗ กิโลเมตร ในตัวอำเภอบ่อพลอยมีร้านขายพลอยอยู่หลายร้าน พลอยที่ได้จากการทำเหมืองอุตสาหกรรมได้แก่ พลอยไพลิน นิล และบุษราคัม รายละเอียด...
หนองปรือ
รายละเอียด...


ท่าม่วง
เขื่อนแม่กลอง เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในตัวอำเภอท่าม่วง ห่างจากอำเภอเมืองลงไปทางใต้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เป็นเขื่อนที่มีความสำคัญที่สุดในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง ครอบคลุมพื้นที่ ๓ ล้านไร่ ในจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงครามและสมุทรสาคร ตัวเขื่อนกว้าง ๑๑๗.๕๐ เมตร ยาว ๑,๖๕๐ เมตร บริเวณเหนือเขื่อนมีทิวทัศน์สวยงาม รายละเอียด...
ท่ามะกา
โบราณสถานพงตึก สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณสมัยทวารวดี และได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ชาวเมืองนับถือศาสนาพุทธและพราหมณ์ มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๒ ทั้งนี้เนื่องจากกรมศิลปากรได้ขุดพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีเป็นจำนวนมากที่พงตึกเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๗๐ เช่น ตะเกียงทองสำริดโรมัน พระพิมพ์ดินเผา พระนารายณ์สลักจากศิลา พระพุทธรูป ฯลฯ และต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๗๗ ดร.เวลส์ ผู้แทนสมาคมค้นคว้าวัตถุโบราณจากประเทศอินเดีย ได้เดินทางมาสำรวจและขุดค้นโบราณวัตถุเพิ่มเติมที่พงตึกและยืนยันว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นเมืองโบราณที่เจริญรุ่งเรืองมากเมื่อสมัยพันปีมาแล้ว ปัจจุบันโบราณวัตถุบางส่วนที่ขุดค้นนำไปเก็บไว้ที่วัดดงสัก บางส่วนอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่กรุงเทพฯ รายละเอียด...


พนมทวน
โบราณสถานบ้านดอนเจดีย์ ตั้งอยู่ที่บ้านดอนเจดีย์ จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒๓ จนถึงบริเวณสี่แยกท่าม่วง เลี้ยวขวาไป ๒ กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางไปดอนเจดีย์อีก ๑๑ กิโลเมตร โดยผู้ที่จะไปชมจะต้องขับรถเลี้ยวเข้าไปยังบริเวณหลังโรงเรียนวัดทุ่งสมอ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้พบโครงกระดูกในบริเวณนี้หลายร้อยโครง ตลอดจนดาบโบราณ กรามช้างเป็นจำนวนมาก และพบซากเจดีย์สมัยกรุงศรีอยุธยาอยู่ด้วย รายละเอียด...
กิจกรรมที่น่าสนใจ
หอดูดาวเกิดแก้ว ตั้งอยู่ที่ตำบลหลุมรัง อำเภอบ่อพลอย จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒๓ แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๐๘๖ (กาญจนบุรี-บ่อพลอย) กิโลเมตรที่ ๔๙ ทางซ้ายมือ จะมีป้ายเขียนชื่อไร่พล.อ.ท. สำเริง เกิดแก้ว เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นสถานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับดวงดาวและธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้รักธรรมชาติและสนใจในด้านดาราศาสตร์ ภายในบริเวณจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับการดูดาว มีหอดูดาวรูปโดมและที่พักรูปแบบแค๊ปซูล สนใจกิจกรรมควรติดต่อล่วงหน้า ๑ สัปดาห์ ที่ น.ท.ฐากูรย์ เกิดแก้ว โทร.๐๑–๙๒๗–๔๑๔๐ หรือที่เว็บไซท์ www.kirdkao.org หรือ ติดต่อทางไปรษณีย์ที่ หอดูดาวเกิดแก้ว ตู้ ปณ. ๓ ปณฝ. กองทัพอากาศ กทม. ๑๐๒๑๓ รายละเอียด...

ตลาดนำยามเย็น

ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ดูภาพขยายคลิกที่ภาพ







ในอดีตเมืองอัมพวาถือว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม มีตลาดน้ำขนาดใหญ่และชุมชนริมน้ำที่เป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรม แต่ผลกระทบของการพัฒนาการคมนาคมทางบก ทำให้ความเป็นศูนย์กลางฯ ของอัมพวาต้องสูญเสียไป ตลาดน้ำค่อยๆลดความสำคัญและสูญหายไปในที่สุด ทิ้งไว้แต่ร่องรอยของความเจริญในอดีตซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนในทุกวันนี้
ทางเทศบาลตำบลอัมพวา โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น ได้ฟื้นฟูตลาดน้ำอัมพวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยาก ให้สืบทอดตลอดไป โดยใช้ชื่อว่า "ตลาดน้ำยามเย็น"

สิ่งที่น่าสนใจ
ตลาดน้ำยามเย็น
จะมีทุกวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 15.00 -22.00 น.วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 12.00-22.00 น.
ตลาดน้ำโดยทั่วไปมักจะจัดขึ้นในเวลากลางวัน แต่ตลาดน้ำยามเย็น ที่อัมพวาแห่งนี้ จะจัดขึ้นในช่วงงเวลาเย็นเรื่อยไปจนถึงเวลาพลบค่ำ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดในลักษณะเช่นนี้ ในตอนเย็นชาวบ้านจะเริ่มทยอยพายเรือนำสินค้าหลากหลายนานาชนิด อาทิ อาหาร ผลไม้ พืชผัก ขนม ของกินของใช้ มาขายให้กับนักท่องเที่ยว หรือคนในท้องถิ่นที่สัญจรไปมาที่ตลาดอัมพวา ทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติของชีวิตของชุมชนริมน้ำ ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถที่จะหาซื้ออาหารมานั่งรับประทาน บริเวณริมคลองอัมพวาติดกับตลาดน้ำ ซึ่งได้มีการจัดสถานที่ไว้ ทำให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

ล่องเรือชมหิ่งห้อย
นักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะนั่งเรือชมหิ่งห้อย ประกายความงามยามค่ำคืน หรือล่องเรือท่องเที่ยวตามลำน้ำแม่กลอง ก็สามารถติดต่อเรือได้ ติดต่อ โทร.089-4154523

การเดินทาง

ทางรถยนต์
จากตัวจังหวัดใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 325 ทางเดียวกับไปอำเภอดำเนินสะดวกและอุทยาน ร.2 ประมาณ 6 กม ก่อนถึงสามแยกไฟแดง มีทางแยกทางซ้ายเข้า อ.อัมพวา ไปอีกประมาณ 800 เมตร. ทางแยกซ้ายมือ เข้าตลาดอัมพวา จอดรถบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภออัมพวา
รถประจำทาง
จากสถานีขนส่งสายใต้
รถสาย 996 กรุงเทพฯ-ดำเนินฯ เป็นรถปรับอากาศ ผ่านจังหวัดสมุทรสงครามถึงตลาดอัมพวา
สาย 976 กทม.-สมุทรสงคราม ถึงสถานีขนส่งสมุทรสงคราม ขึ้นรถประจำทางสาย 333 แม่กลอง-อัมพวา-บางนกแขวก ถึงตลาดอัมพวา
คลิปวีดีโอ ตลาดน้ำยามเย็น

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

อำเภอเมือประจวบคีรีขันธ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟลพบุรี สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เมื่อเข้าไปในบริเวณวัด จะพบศาลาเปลื้องเครื่องเป็นอันดับแรก ศาลาเปลื้องเครื่องนี้ใช้เป็นที่สำหรับพระเจ้าแผ่นดินเปลื้องเครื่องทรงก่อนที่จะเข้าพิธีทางศาสนาในพระวิหารหรือพระอุโบสถ ปัจจุบันศาลาเปลื้องเครื่องคงเหลือเพียงเสาเอนอยู่เท่านั้น ส่วนอื่นปรักหักพังไปหมดแล้ว ถัดจากศาลาเปลื้องเครื่องเป็นวิหารหลวง ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก ประตูทำเป็นเหลี่ยมแบบไทย หน้าต่างเจาะช่องแบบโกธิคของฝรั่งเศส ภายในสร้างฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูป ทางทิศใต้ของวิหารหลวงเป็นพระอุโบสถขนาดย่อม ประตูหน้าต่างเป็นแบบฝรั่งเศสทั้งหมด ห่างไปทางทิศตะวันตกของวิหารหลวงเป็นพระปรางค์องค์ใหญ่ที่สูงที่สุดในลพบุรี สร้างเป็นพุทธเจดีย์ องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงโบกปูน มีเครื่องประดับลวดลายเป็นพระพุทธรูปและพุทธประวัติ ที่ลายปูนปั้นหน้าบันพระปรางค์แสดงถึงอิทธิพลของพุทธศาสนานิกายมหายาน และซุ้มโคปุระของปรางค์องค์ใหญ่เป็นศิลปะละโว้ มีลายปูนปั้นที่ถือว่างามมาก เดิมคงจะสร้างในสมัยขอมเรืองอำนาจ แต่ได้รับการซ่อมแซมในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระนารายณ์ฯ ลวดลายจึงปะปนกันหลายสมัย ปรางค์องค์นี้เดิมบรรจุพระพุทธรูปไว้เป็นจำนวนมาก ที่ขึ้นชื่อคือ พระเครื่องสมัยลพบุรี เช่น พระหูยาน พระร่วง ซึ่งมีการขุดพบเป็นจำนวนมาก อีกสิ่งหนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงคือปรางค์รายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่มุมกลีบมะเฟืองทุกมุมปั้นเป็นรูปเทพพนมหันออกรอบทิศ พระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยม พระขนงต่อกัน ลักษณะเป็นศิลปะแบบอู่ทอง ชฎาเป็นทรงสามเหลี่ยมมีรัศมีออกไปโดยรอบ เป็นศิลปะที่มีความงามแปลกตาหาดูได้ยากในเมืองไทย ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา ๐๗.๐๐-๑๗.๐๐ น. เว้นวันจันทร์-อังคาร อัตราเข้าชม คนไทย ๑๐ บาท ต่างประเทศ ๓๐ บาท เด็กไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักงานศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๒๕๑๐, ๐ ๓๖๔๑ ๓๗๗๙ อาคารสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ภาคกลาง เขต ๗ ตั้งอยู่ด้านข้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ โดยท่านพระครูลพบุรีคณาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเสาธงทอง เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียนแทนตึกโคโรซาน ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดเสาธงทอง โรงเรียนแห่งใหม่นี้มีชื่อว่า โรงเรียนพระนารายณ์ เป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๑ ได้ย้ายโรงเรียนไปอยู่ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัยจนถึงปัจจุบัน อาคารไม้ ๒ ชั้นหลังนี้จึงอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ และ ททท. ได้ขออนุญาตใช้เป็นอาคารสำนักงาน จากกรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๒๐๙ เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ณ เมืองลพบุรี แบ่งเป็นเขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน กำแพงพระราชวังก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาเรียงรายบนสันกำแพงมีซุ้มประตูทั้งหมด ๑๑ ประตู ประตูทางเข้าเป็นทรงจตุรมุขมีช่องทางเข้าโค้งแหลม ตรงจั่วซุ้มประตูตกแต่งลายกระจังปูนปั้นที่วิวัฒนาการมาจากดอกบัว ที่ซุ้มประตูและกำแพงพระราชฐานชั้นกลางและชั้นในมีช่องเล็ก ๆ เจาะเป็นรูปโค้งแหลมคล้ายบัวเรียงเป็นแถวสำหรับวางตะเกียง ประมาณ ๒,๐๐๐ ช่อง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ ) โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๙ เพื่อให้เป็นราชธานีชั้นใน และพระราชทานชื่อว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” สิ่งก่อสร้างภายในพระราชวังแบ่งตามยุคสมัยเป็น ๒ กลุ่ม คือ สิ่งก่อสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งศิลปกรรมแบบไทยและฝรั่งเศสผสมกัน เดิมเป็นท้องพระโรงมียอดแหลมทรงมณฑป ตรงกลางท้องพระโรงมีสีหบัญชร ซึ่งเป็นที่เสด็จออกเพื่อทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้เข้าเฝ้า ประตูและหน้าต่างท้องพระโรงซึ่งอยู่ด้านหน้าทำเป็นโค้งแหลม ส่วนตัวมณฑปซึ่งอยู่ด้านหลังทำประตูหน้าต่างเป็นซุ้มแบบไทย คือ ซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ในจดหมายเหตุทูตฝรั่งเศส กล่าวพรรณนาพระที่นั่งว่า “ตามผนังประดับด้วยกระจกเงา ซึ่งนำมาจากฝรั่งเศส เพดานแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๔ ช่อง ประดับด้วยลายดอกไม้ทองคำ และแก้วผลึกที่ได้มาจากเมืองจีนงดงามมาก” ผนังด้านนอกพระที่นั่งตรงมณฑปชั้นล่างเจาะเป็นช่องโค้งแหลมไว้สำหรับวางตะเกียง ซึ่งจะเห็นได้อีกเป็นจำนวนมากตามซุ้มประตูและกำแพงของพระราชวัง สมเด็จพระนารายณ์ฯ เคยเสด็จออกรับคณะราชทูตฝรั่งเศส เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ ที่พระที่นั่งองค์นี้ในปี พ.ศ. ๒๒๒๘ ด้วย พระที่นั่งจันทรพิศาล สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๒๐๘ เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ที่สร้างทับลงไปบนรากฐานเดิมของพระที่นั่งซึ่งพระราเมศวรโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าอู่ทองได้ทรงสร้างเมื่อครั้งครองเมืองลพบุรี พระที่นั่งองค์นี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ ด้านหน้ามีมุขเด็จ ภายหลังเมื่อได้สร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรค์ขึ้น สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงย้ายไปประทับที่พระที่นั่งองค์ใหม่ และโปรดให้ใช้พระที่นั่งจันทรพิศาลเป็นที่ออกขุนนาง ซึ่งตรงกับบันทึกของชาวฝรั่งเศสว่าเป็นหอประชุมองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงบูรณะพระที่นั่งองค์นี้ตามแบบของเดิม ปัจจุบันใช้จัดแสดงเรื่องราวพระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและงานประณีตศิลป์สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า “พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานที่ร่มรื่น ทรงปลูกพรรณไม้ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง หลังคาพระที่นั่งมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ที่มุมทั้งสี่ มีสระน้ำใหญ่สี่สระ เป็นที่สรงสนานของพระเจ้าแผ่นดิน” สมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๒๓๑ ตึกพระเจ้าเหา ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของเขตพระราชฐานชั้นนอก ตึกหลังนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้อย่างชัดเจนมาก เป็นตึกที่สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ยกพื้นสูงขึ้นไปประมาณ ๑ เมตร ตัวตึกเป็นรูปทรงไทย ฐานก่อด้วยศิลาแลง และจึงก่ออิฐขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันเหลือแต่ผนังประตูหน้าต่าง ทำเป็นซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ปัจจุบันคงปรากฏลายให้เห็นอยู่ ด้วยเหตุว่าภายในตึกมีฐานชุกชีปรากฏให้เห็นอยู่และชาวฝรั่งเศสได้ระบุว่าเป็นวัด จึงสันนิษฐานว่าเป็นหอพระประจำพระราชวัง ตึกพระเจ้าเหาหรือ “พระเจ้าหาว” (หาวเป็นภาษาไทยโบราณ หมายถึงท้องฟ้า) ในตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเพทราชา และขุนหลวงสรศักดิ์ใช้ตึกพระเจ้าเหาเป็นที่นัดแนะประชุมขุนนางและทหารเพื่อแย่งชิงราชสมบัติขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระประชวรหนัก ตึกรับรองแขกเมือง ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ใกล้กับหมู่ตึกสิบสองท้องพระคลังเป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า ตึกหลังนี้อยู่กลางอุทยาน ซึ่งแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบตึกมีคูน้ำล้อมรอบ ภายในคูน้ำมีน้ำพุเรียงรายเป็นระยะอยู่ ๒๐ แห่ง จากเค้าโครงที่เห็นแสดงว่าในสมัยก่อนคงจะสวยงามมาก ทางด้านหน้าตึกเลี้ยงรับรองมีรากฐานเป็นอิฐแสดงให้เห็นว่าตึกหลังเล็ก ๆ คงจะเป็นโรงมหรสพ ซึ่งมีการแสดงให้แขกเมืองชมภายหลังการเลี้ยงอาหาร สมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้พระราชทานเลี้ยงแก่คณะทูตจากประเทศฝรั่งเศส ณ สถานที่นี้ใน พ.ศ. ๒๒๒๘ และ พ.ศ. ๒๒๓๐ พระคลังศุภรัตน์ (หมู่ตึกสิบสองท้องพระคลัง) เป็นหมู่ตึกตั้งอยู่ระหว่างอ่างเก็บน้ำประปาและตึกซึ่งใช้เป็นสถานที่พระราชทานเลี้ยงชาวต่างประเทศ สร้างขึ้นอย่างมีระเบียบด้วยอิฐเป็น ๒ แถวยาวเรียงชิดติดกัน อาคารมีลักษณะค่อนข้างทึบ มีถนนผ่ากลาง จำนวนรวม ๑๒ หลัง เข้าใจว่าเป็นคลังเพื่อเก็บสินค้า หรือเก็บสิ่งของเพื่อใช้ในราชการ อ่างเก็บน้ำหรือถังเก็บน้ำประปา ก่อด้วยอิฐยกขอบเป็นกำแพงสูงหนาเป็นพิเศษ ตรงพื้นที่มีท่อดินเผาฝังอยู่เพื่อจ่ายน้ำไปใช้ตามตึกและพระที่นั่งต่างๆ โดยท่อดินเผาจากทะเลชุบศรและอ่างซับเหล็กตามบันทึกกล่าวว่า ระบบการจ่ายทดน้ำเป็นผลงานของชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียน โรงช้างหลวง ตั้งเรียงรายเป็นแถวชิดริมกำแพงเขตพระราชฐานชั้นนอกด้านในสุด โรงช้างส่วนใหญ่ปรักหักพังเหลือแต่ฐานปรากฏให้เห็นประมาณ ๑๐ โรง ช้างซึ่งยืนโรงในพระราชวัง คงเป็นช้างหลวงหรือช้างสำคัญ สำหรับใช้เป็นพาหนะของสมเด็จพระนารายณ์ฯ เจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ สิ่งก่อสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎและอาคารต่างๆ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จ พระนารายณ์ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๕ เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์ เมื่อครั้งเสด็จบูรณะเมืองลพบุรี ประกอบด้วยพระที่นั่ง ๔ องค์ คือ พระที่นั่งพิมานมงกุฎ เป็นที่ประทับ พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัยเป็นท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน พระที่นั่งไชยศาสตรากรเป็นที่เก็บอาวุธพระที่นั่งอักษรศาสตราคม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระราชทานให้เป็นศาลากลางจังหวัด ต่อมาเมื่อศาลากลางจังหวัดย้ายไปอยู่ที่ใหม่ พระที่นั่งหมู่นี้จึงรวมกับพระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ หมู่ตึกพระประเทียบ ตั้งอยู่บริเวณหลังพระที่นั่งพิมานมงกุฎ ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานฝ่ายใน เป็นตึกชั้นเดียว ๒ หลัง ก่อด้วยอิฐถือปูนสูง ๒ ชั้น เรียงรายอยู่ ๘ หลัง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักของข้าราชการฝ่ายในที่ตามเสด็จรัชกาลที่ ๔ เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองลพบุรี ทิมดาบหรือที่พักของทหารรักษาการณ์ เมื่อเดินผ่านประตูทางเข้าเขตพระราชฐานชั้นกลาง ข้างประตูทั้งสองด้านตรงบริเวณสนามหญ้าจะแลเห็นศาลาโถงข้างละหลัง นั่นคือตึกซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่พักของทหารรักษาการณ์ในเขตพระราชวัง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ แบ่งอาคารจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุเป็น ๔ อาคาร ๑. พระที่นั่งพิมานมงกุฎ จัดแสดงหลักฐานโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณภาคกลางของประเทศไทยและแหล่งโบราณคดีจังหวัดลพบุรี โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เตาดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากโลหะ ภาชนะสำริด เครื่องประดับทำจากหินและเปลือกหอย เป็นต้น ภายในพระที่นั่งแบ่งเป็นห้องต่างๆ ได้แก่ - ห้องภาคกลางประเทศไทย พ.ศ.๘๐๐-๑๕๐๐ รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียที่เรียกว่า สมัยทวารวดี จัดแสดงเรื่องการเมือง การตั้งถิ่นฐาน เทคโนโลยีและการดำเนินชีวิต อักษร ภาษา ศาสนสถาน ศาสนาและความเชื่อถือ หลักฐานที่จัดแสดงได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ดินเผา เหรียญตราประทับดินเผา จารึกภาษาบาลี สันสกฤต และรูปเคารพต่าง ๆ - ห้องอิทธิพลศิลปะเขมร-ลพบุรี จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๘ โบราณคดีสมัยชนชาติขอมแผ่อิทธิพลเข้าปกครองเมืองลพบุรี และบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ ทับหลัง พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปปางประทานอภัย เป็นต้น - ห้องประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย จัดแสดงศิลปกรรมที่พบตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ ได้แก่ ศิลปะแบบหริภุญไชย ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัยลพบุรี เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพิมพ์ และพระพุทธรูปสำริดสมัยต่าง ๆ - ห้องประวัติศาสตร์ศิลปกรรมสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๔ ได้แก่ พระพุทธรูป เครื่องถ้วย เงินตรา อาวุธ เครื่องเงิน เครื่องทอง และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมปูนปั้น และไม้แกะสลักต่าง ๆ - ห้องศิลปร่วมสมัย จัดแสดงภาพเขียนและภาพพิมพ์ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทย - ห้องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและพระราชประวัติของสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ซึ่งโปรดฯให้สร้างพระราชวัง ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๙ ได้แก่ ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ ฉลองพระองค์ เครื่องใช้ แท่นพระบรรทม เหรียญทอง และจานชามมีรูปมงกุฎซึ่งเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ เป็นต้น ๒. พระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบทรงไทย จัดแสดงเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และพระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และห้องด้านหลังจัดแสดงงานประณีตศิลป์สมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ๓. หมู่ตึกพระประเทียบ (อาคารชีวิตไทยภาคกลาง) เป็นอาคารลักษณะสถาปัตยกรรมผสมแบบตะวันตก จัดแสดงเรื่องชีวิตไทยภาคกลาง การดำรงชีวิต ที่อยู่อาศัย เครื่องมือ เครื่องใช้ประกอบอาชีพประมง การเกษตร และศิลปหัตกรรมพื้นบ้านของคนไทยในภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดลพบุรีที่ใช้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ๔. พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ จัดแสดงหนังใหญ่ เรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งได้มาจากวัดตะเคียน ตำบลท้ายตลาด อำเภอเมืองลพบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประจำปี ๒๕๔๕ รางวัลดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์-อังคาร ตั้งแต่เวลา ๘.๓๐-๑๖.๐๐ น. ค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๑๔๕๘ วัดเสาธงทอง ตั้งอยู่บนถนนฝรั่งเศสซึ่งตัดเชื่อมระหว่างพระราชวังนารายณ์ฯ กับบ้านหลวงรับราชทูต เป็นวัดเก่าแก่ เดิมแยกเป็น ๒ วัด คือ วัดรวก และวัดเสาธงทอง พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้รายงานกราบทูลเสนอความเห็นต่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อคราวเสด็จตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลอยุธยาว่า วัดรวกมีโบสถ์ วัดเสาธงมีวิหาร สมควรจะรวมเป็นวัดเดียวกัน ทรงดำริเห็นชอบให้รวมกัน และให้เรียกชื่อว่า วัดเสาธงทอง วัดนี้มีโบราณสถานที่ควรชม คือ พระวิหารซึ่งแต่เดิมคงสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานของศาสนาอื่น เพราะจากแผนที่ของช่างชาวฝรั่งเศสทำไว้ ระบุว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่พำนักของชาวเปอร์เซีย พระวิหารหลังนี้อาจเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาอิสลามของชาวเปอร์เซียก็เป็นได้ นอกจากนั้นก็มีตึกปิจู ตึกคชสาร หรือตึกโคระส่าน เป็นตึกเก่าสันนิษฐานว่าใช้เป็นที่พำนักของแขกเมืองและราชทูตชาวเปอร์เซีย บ้านหลวงรับราชทูต หรือ บ้านหลวงวิชาเยนทร์ ตั้งอยู่บนถนนวิชาเยนทร์ ห่างจากปรางค์แขกประมาณ ๓๐๐ เมตร ทางทิศเหนือของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ สำหรับเป็นที่รับรองราชทูตที่มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เมืองลพบุรี คณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๘ ได้พำนัก ณ ที่แห่งนี้ ต่อมา Constantine Phaulkon (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ซึ่งเป็นชาวกรีกได้เข้ามารับราชการได้รับความดี ความชอบ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นถึง “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์” และได้พระราชทานที่พักอาศัยให้ทางทิศตะวันตกของบ้านหลวงรับราชทูต พื้นที่ในบริเวณบ้านหลวงรับราชทูตแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนทิศตะวันตก เป็นอาคารที่พักอาศัยของคณะทูต ได้แก่ ตึก ๒ ชั้นหลังใหญ่ก่อด้วยอิฐ และอาคารชั้นเดียว แคบยาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ส่วนกลาง มีอาคารที่สำคัญ คือ ฐานของสิ่งก่อสร้างซึ่งเข้าใจว่าเป็นหอระฆังและโบสถ์คริสตศาสนา ซึ่งอยู่ทางด้านหลังซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปจั่ว ส่วนทิศตะวันออก ได้แก่ กลุ่มอาคารใหญ่ ๒ ชั้น มีบันไดขึ้นทางด้านหน้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ซุ้มประตูทางเข้ามีลักษณะเช่นเดียวกับทางทิศตะวันตก ลักษณะของสถาปัตยกรรมในบ้านหลวงรับราชทูตบางหลัง เป็นแบบยุโรปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอาคารใหญ่ทางทิศตะวันออก ก่ออิฐถือปูนสูง ๒ ชั้น หน้าต่างและซุ้มประตูแสดงให้เห็นลักษณะศิลปะตะวันตกแบบเรอเนสซองส์ ซึ่งเจริญแพร่หลายในสมัยนั้น และที่สำคัญคือ อาคารที่เป็นโบสถ์คริสตศาสนา ผังและแบบของโบสถ์เป็นแบบยุโรป มีซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้ว มีเสาปลายเป็นรูปกลีบบัวยาวซึ่งเป็นศิลปะไทย โบสถ์เหล่านี้ถือกันว่าเป็นโบสถ์คริสต์หลังแรกในโลกที่ตกแต่งด้วยลักษณะของโบสถ์ทางพระพุทธศาสนา สามารถเข้าชมได้ระหว่างเวลา ๐๗.๐๐-๑๗.๐๐ น. เว้นวันจันทร์-อังคาร อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักงานศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๒๕๑๐, ๐ ๓๖๔๑ ๓๗๗๙ ศาลหลักเมือง หรือ ศาลลูกศร ตั้งอยู่ถนนสายริมน้ำหลังวัดปืนใหญ่ ใกล้กับบ้านวิชาเยนทร์ ตัวศาลาเป็นตึกเล็กๆ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๒ ตารางเมตร มีแท่งหินแท่งหนึ่งโผล่เหนือระดับพื้นดินขึ้นมา สูงประมาณ ๑ เมตร เป็นศาลเจ้าหลักเมืองโบราณที่เรียกว่า ศาลลูกศร สมเด็จกรมพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับศาลลูกศรไว้ในตำนานเมืองลพบุรีว่า “หลักเมืองลพบุรี อยู่ทางตลาดข้างเหนือวัง เรียกกันว่า ศรพระราม จะมีมาแต่ก่อนสมัยขอมฤาเมื่อครั้งขอมทราบไม่ได้แน่ ที่เรียกกันว่า ศรพระรามนั้นเกิดแต่เอาเรื่องรามเกียรติ์สมมติฐานเป็นตำนานของเมืองนี้ คือเมื่อเสด็จศึกทศกัณฑ์พระรามกลับไปครองเมืองอโยธยาแล้ว จะสร้างเมืองประทานตรงนั้น ลูกศรพระรามไปตกบนภูเขาบันดาลให้ยอดเขานั้นราบลง หนุมานตามไปถึงจึงเอาหางกวาดดินเป็นกำแพงเมืองหมายไว้เป็นสำคัญ แล้วพระวิษณุกรรมลงมาสร้างเมือง ครั้นเสร็จแล้วพระรามจึงประทานนามว่า “เมืองลพบุรี” ด้วยเหตุนี้จึงอ้างกันมาก่อนว่า หลักเมืองนั้นคือลูกศรพระรามที่กลายเป็นหิน และเนินดินตามกำแพงเมืองที่ยังปรากฏอยู่เป็นของหนุมานที่เอาหางกวาดทำไว้ เทวสถานปรางค์แขก อยู่ใกล้กับนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของลพบุรี เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐมีสามองค์ แต่ไม่มีฉนวนเชื่อมต่อกันเหมือนปรางค์สามยอด นักโบราณคดีกำหนดว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เพราะมีลักษณะคล้ายกับปรางค์ ศิลปะเขมรแบบพะโค (พ.ศ. ๑๔๒๕-๑๕๓๖) เป็นปรางค์แบบเก่า ซึ่งมีประตูทางเข้าแบบโค้งแหลม ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดให้สร้างวิหารขึ้นด้านหลัง และถังเก็บน้ำซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของปรางค์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างวิหารขึ้นด้านหน้า และถังเก็บน้ำประปาทางด้านทิศใต้ของเทวสถาน พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่บนเนินดินด้านตะวันตกของทางรถไฟ ใกล้กับศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน ๓ องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สร้างด้วยศิลาแลง และตกแต่งลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบบายน ปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันสีแดง ด้านหน้าทางทิศตะวันออกมีวิหารสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ปางสมาธิที่สมบูรณ์ดี เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ปรางค์สามยอดนี้แต่เดิมคงเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทว สถานโดยมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ในองค์ปรางค์ทั้งสามปรางค์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์สามยอดเป็นวัดในพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรปในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันยังคงประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง เปิดให้เข้าชม ระหว่างเวลา ๐๗.๐๐-๑๗.๐๐น. เว้นวันจันทร์-อังคาร อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท ศาลพระกาฬ ตั้งอยู่ริมทางรถไฟด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน เป็นเทวสถานเก่าของขอม สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง จึงเรียกกันมาแต่ก่อนอีกชื่อหนึ่งว่า “ศาลสูง” ที่ทับหลังซึ่งทำด้วยศิลาทรายสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน ณ ที่นี้ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณด้วย ส่วนด้านหน้าเป็นศาลที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ยืน ทำด้วยศิลา ๒ องค์ องค์เล็กเป็นแบบเทวรูปเก่าในประเทศไทย องค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบลพบุรี แต่พระเศียรเดิมหายไป ภายหลังมีผู้นำพระเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยอยุธยามาสวมต่อไว้ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป ในบริเวณรอบศาลพระกาฬร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงกว่า ๓๐๐ ตัว ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลพบุรี กล่าวกันว่าเดิมบริเวณนี้เต็มไปด้วยต้นกร่างขนาดใหญ่ มีลิงอาศัยอยู่ เมื่อมีคนนำอาหารและผลไม้มาแก้บนที่ศาลพระกาฬ ลิงป่าเหล่านั้นได้เข้ามากินอาหาร จึงเชื่องและคุ้นเคยกับคนมากขึ้น วัดนครโกษา อยู่ทางตอนเหนือของสถานีรถไฟลพบุรีใกล้กับศาลพระกาฬ มีซากโบราณสถาน คือ เจดีย์องค์ใหญ่สมัยทวารวดี พระปรางค์สมัยลพบุรีในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ อยู่ด้านหน้า แต่พระพุทธรูปปูนปั้นแบบอู่ทองบนปรางค์นั้นสร้างขึ้นภายหลัง และยังพบเทวรูปขนาดใหญ่มีร่องรอยการดัดแปลงเป็นพระพุทธรูป ๒ องค์ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ เทวสถานแห่งนี้ภายหลังสร้างเป็นวัดขึ้นในสมัยอยุธยา ดังจะเห็นได้จากซากวิหารซึ่งเหลือแต่ผนัง และเสาอยู่ทางด้านหน้าและมีเจดีย์สูงก่อด้วยอิฐอยู่เบื้องหลัง คำว่า “วัดนครโกษา” มีผู้สันนิษฐานว่า เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นผู้บูรณะจึงเรียกว่า “วัดนครโกษา” ตามราชทินนามนั่นเอง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐ ๓๖๔๑ ๒๕๑๐, ๐ ๓๖๔๑ ๓๗๗๙ วัดสันเปาโล ตั้งอยู่บนถนนร่วมมิตร ทางเข้าวิทยาลัยนาฏศิลป์ลพบุรี เป็นวัดของพวกบาทหลวงเยซูอิต สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ปัจจุบันคงเหลือเพียงผนังด้านหนึ่งและหอดูดาว บริเวณโดยรอบมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น คำว่า “สันเปาโล” คงเพี้ยนมาจากคำว่าเซ็นตปอลหรือเซ็นตเปาโล ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “ตึกสันเปาหล่อ”วัดมณีชลขัณฑ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตลาดท่าโพธิ์ วัดนี้ถูกแบ่งเป็นสองส่วนเพราะมีถนนตัดผ่านตรงกลางพอดี มีโบราณสถานที่น่าสนใจคือ พระเจดีย์รูปทรงแปลก คือก่อเป็นเหลี่ยมสูงชะลูดขึ้นไป คล้ายกับเจดีย์เหลี่ยมสมัยเชียงแสน(ล้านนา) แต่ตรงมุมมีการย่อมุมไม้สิบสอง ทำเป็นสามชั้นมีซุ้มประตูยอดแหลมอยู่ด้านข้างทั้งสี่ด้านทุกชั้น นอกจากนี้ภายในวัดยังมีต้นโพธิ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเพาะเมล็ดนำมาปลูกไว้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐ ๓๖๔๑ ๑๕๘๓ วัดตองปุ อยู่หลังโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ตำบลทะเลชุบศร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง ในอดีตเคยเป็นที่ชุมนุมกองทัพไทย ในวัดตองปุนี้มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น พระอุโบสถทรงไทยที่มีฐานอ่อนโค้ง วิหารมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คือ หน้าต่างและประตูเป็นช่องโค้งแหลม นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเจดีย์หลวงพ่อแสงวัดมณีชลขัณฑ์ แต่มีขนาดเล็กกว่า และยังมีโบราณวัตถุที่สำคัญเหลืออยู่เพียงชิ้นเดียวในเมืองไทย คือ ที่สรงน้ำพระโบราณ หรือที่เรียกกันว่า น้ำพุสรงน้ำพระ เก็บรักษาไว้ที่วัดแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมี หอไตร คลัง และหอระฆังที่ควรชม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐ ๓๖๔๑ ๓๑๙๘ วัดกวิศรารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ถนนเพทราชา ตำบลท่าหิน ติดกับพระนารายณ์ราชนิเวศน์ทางด้านทิศใต้ จากตำนานกล่าวกันว่า เดิมชื่อ วัดขวิด และในประกาศเรื่องพระนารายณ์ราชนิเวศน์ กล่าวว่าสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงโปรดพระราชทานนามให้เรียกว่า วักกระวิศราราม ต่อมาได้รับปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ ๕ และในพ.ศ. ๒๔๘๑ พระกิตติญาณมุนี เจ้าอาวาสในขณะนั้นได้ขอเปลี่ยนชื่อเป็น วัดกวิศราราม อันมีความหมายว่า วัดของพระเจ้าแผ่นดิน กล่าวกันว่าเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยนั้น ภายในวัดมีพระอุโบสถมีประตูทางเข้าออกทางเดียวกัน หน้าต่างเจาะช่อง ศิลปะแบบอยุธยา มีมุขเด็จอยู่ด้านหน้าที่รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้ต่อออกมาและขยายพัทธสีมาให้ใหญ่กว่าเดิม พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะอู่ทอง จิตรกรรมฝาผนังเป็นลายรูปดอกไม้ นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ทรงกลมบนฐานเหลี่ยมองค์ใหญ่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถและหมู่กุฏิซึ่งเป็นตึกในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตลอดจนหอพระไตรปิฎกที่สวยงามอยู่ภายในวัด สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๖๑ ๘๕๙๓ วัดเชิงท่า ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีทางทิศตะวันออก พื้นที่ด้านหน้าติดพระราชวัง “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” ด้านทิศตะวันตกหันหน้าสู่แม่น้ำลพบุรี เดิมชื่อวัดท่าเกวียน ด้วยเป็นท่าของเกวียนลำเลียงสินค้าขนส่งมาลงที่ท่าน้ำหน้าวัดแห่งนี้ ภายในวัดเชิงท่ามีอาคารสำคัญสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติ ได้แก่ พระอุโบสถ พระเจดีย์ประธานของวัด กุฏิสงฆ์แบบตึกสองชั้นทรงเก๋งจีน ศาลาตรีมุข อาคารโวทานธรรมสภา หอระฆังและศาลาการเปรียญ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าและสวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ภายในวัดมีสถานที่น่าสนใจ คือ พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องประวัติวัดเชิงท่า พระสงฆ์ พระธรรมและพระพุทธ สาระสำคัญของการจัดแสดงเกี่ยวข้องกับความรู้ทางพุทธศาสนาอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระรัตนไตร อันเป็นแก้วสามประการที่หมายถึง พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังจัดแสดงอัฐบริขารและเครื่องใช้ในพุทธศาสนาที่สำคัญ แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ไตร จีวร บาตร ตาลปัตร เครื่องเคลือบ ธรรมาสน์ ตู้พระไตรปิฎก ตู้เก็บคัมภีร์ ภาพพระบฎมหาเวสสันดรชาดกและพระพุทธเจ้าในอนาคต ได้แก่ พระศรีอริยเมตไตร พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์นี้ เปิดบริการให้เข้าชม ทุกวัน ในเวลาราชการ ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๖๑ ๘๓๘๘ สวนสัตว์ลพบุรี ตั้งอยู่หลัง “โรงภาพยนตร์ทหารบก” ห่างจากวงเวียนสระแก้วไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๑ กิโลเมตร สวนสัตว์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ สมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้มุ่งพัฒนาเมืองลพบุรีให้เป็นเมืองสำคัญ โดยได้ก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ มากมายรวมทั้งสวนสัตว์แห่งนี้ด้วย ต่อมาเมื่อสิ้นยุคสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม สวนสัตว์ก็พลอยถูกทอดทิ้งและร้างไปในที่สุด ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ศูนย์สงครามพิเศษ ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งชมรม สโมสร พ่อค้า ประชาชน ดำเนินการปรับปรุงบูรณะสวนสัตว์ขึ้นใหม่ ให้เป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งสำหรับศึกษาหาความรู้ในเรื่องสัตว์และพืชนับเป็นสวนสัตว์ที่มีความสมบูรณ์พอสมควรแก่การบริการประชาชนในท้องถิ่น สวนสัตว์แห่งนี้เปิดบริการทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ น. ค่าผ่านประตูผู้ใหญ่ ๑๐ บาท เด็ก ๕ บาท รถยนต์ ๑๐ บาท สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๔๑ ๓๕๕๑ สระแก้ว ตั้งอยู่กลางวงเวียนศรีสุริโยทัย หรือวงเวียนสระแก้ว ถนนนารายณ์มหาราช อำเภอเมืองลพบุรี กลางสระมีสิ่งก่อสร้างรูปร่างคล้ายเทียนขนาดยักษ์ ตั้งอยู่บนพานขนาดใหญ่รอบขอบพานประดับเครื่องหมายประจำกระทรวงต่าง ๆ มีสะพานเชื่อมถึงกันโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ ที่เชิงสะพานมีคชสีห์ในท่านั่งหมอบอยู่สะพานละ ๒ ตัว วัดชีป่าสิตาราม ตั้งอยู่ริมถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด ภายในวัดมีเจดีย์ทรงระฆังศิลปะสมัยอยุธยา และมีการรักษาโรคด้วยการอบสมุนไพร และนวดแผนโบราณโดยชมรมสมุนไพร เปิดบริการทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๖๑ ๒๙๑๑ พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็นหรือตำหนักทะเลชุบศร) ตั้งอยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ ๔ กิโลเมตร พระที่นั่งแห่งนี้ เป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่งของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช องค์พระที่นั่งตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเลชุบศร ซึ่งในสมัยโบราณเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีเขื่อนหินถือปูนล้อมรอบ สมเด็จพระนารายณ์ฯโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อทรงสำราญพระราชอริยาบถ บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ประพาสป่าล่าช้าง บริเวณภูเขาทางทิศตะวันออก แล้วจะกลับเข้าเสด็จประทับ ณ พระที่นั่งองค์นี้ พระที่นั่งเย็นสร้างขึ้นในปีใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการที่พระนารายณ์ฯได้ทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากประเทศฝรั่งเศส ณ พระที่นั่งนี้ จึงเป็นหลักฐานที่แน่ชัดว่าพระที่นั่งเย็นได้สร้างก่อน พ.ศ. ๒๒๒๘ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นพระที่นั่งชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน มีผนังเป็นทรงจตุรมุข ตรงมุขหน้าเป็นมุขเด็จยื่นออกมา และมีสีหบัญชรกลางมุขเด็จสำหรับสมเด็จพระนารายณ์ฯ เสด็จออก ซุ้มหน้าต่าง และซุ้มประตูทำเป็นซุ้มเรือนแก้ว เป็นแบบแผนที่นิยมทำกันมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ สภาพปัจจุบันเหลือแต่ผนัง เครื่องบนหักพังหมดแล้ว ในบริเวณพระที่นั่งเย็นมีอาคารเล็กๆ ก่อด้วยอิฐ ซึ่งทำประตูหน้าต่างเป็นแบบโค้งแหลม เข้าใจว่าคงเป็นที่พักทหาร ด้านหน้าและด้านหลังพระที่นั่งมีเกยทรงม้าหรือช้างด้านละแห่ง พระที่นั่งเย็นมีความสำคัญทางดาราศาสตร์ในฐานะที่สมเด็จพระนารายณ์ฯใช้เป็นสถานที่สำรวจจันทรุปราคา เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๒๒๘ และทอดพระเนตรสุริยุปราคา เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๒๓๑ ร่วมกับบาทหลวงเยซูอิตและบุคคลในคณะทูตชุดแรกที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศสส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี เหตุที่ได้ใช้พระที่นั่งเย็นเป็นที่สำรวจจันทรุปราคามีบันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่าเป็นที่เหมาะสมสามารถมองท้องฟ้าได้ทุกด้าน และมีพื้นที่กว้างมากพอสำหรับที่จะติดตั้งเครื่องมือ ยังมีภาพการสำรวจจันทรุปราคาที่พระที่นั่งเย็นซึ่งชาวฝรั่งเศสวาดไว้ เป็นรูปสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงสวมลอมพอก ทรงกล้องส่องยาววางบนขาตั้ง ทอดพระเนตรดวงจันทร์จากสีหบัญชรของพระที่นั่งเย็น และตรงเฉลียงสองข้างสีหบัญชรด้านหนึ่งมีขุนนางหมอบกราบ อีกด้านหนึ่งมีนักดาราศาสตร์กำลังสังเกตการณ์โดยใช้กล้องส่อง จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ณ พระที่นั่งเย็น เมืองลพบุรีนี้เอง ส่วนทะเลชุบศรในสมัยโบราณนั้นเป็นที่ลุ่มน้ำขังอยู่ตลอด สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทำนบใหญ่กั้นน้ำไว้ เพื่อชักน้ำจากทะเลชุบศรผ่านท่อน้ำดินเผาไปยังเมืองลพบุรี ปัจจุบันยังเห็นเป็นสันดินปรากฏอยู่ สอบถามรายละเอียด สำนักงานศิลปากรที่ ๔ (ลพบุรี) โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๓๗๗๙, ๐ ๓๖๔๑ ๒๕๑๐ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่กลางวงเวียนเทพสตรีใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรีบริเวณหัวถนนนารายณ์มหาราชก่อนเข้าสู่ย่านตัวเมือง อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นรูปปั้นในท่าประทับยืนผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ก้าวพระบาทซ้ายออกมาข้างหน้าเล็กน้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙ ที่ฐานอนุสาวรีย์ได้จารึกข้อความว่า “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ไทยผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ทรงพระราชสมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๑๗๕ สวรรคต ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๑ พระองค์ทรงมีพระบรมราชกฤษดาภินิหารเป็นอย่างยิ่ง”สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ปราสาททององค์สุดท้าย ในรัชสมัยของพระองค์วรรณคดีและศิลปะของไทยได้เจริญถึงขีดสูงสุด มีสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศอย่างกว้างขวาง เกียรติคุณของประเทศไทยแผ่ไพศาลเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ประชาชนชาวไทยได้ร่วมกันสร้าง และประดิษฐานอนุสาวรีย์นี้ไว้ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ วัดยาง ณ รังสี และ พิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน ตั้งอยู่หมู่ ๒ ตำบลตะลุง ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีด้านตะวันตก เดิมเรียกว่า วัดพญายาง เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีต้นยางยักษ์ต้นหนึ่งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์ท่ามกลางดงต้นยาง เดิมชื่อวัดยางศรีสุธรรมาราม แล้วเปลี่ยนเป็นวัดยาง ณ รังสี จนถึงปัจจุบัน ส่วน พิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญไม้ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี ศาลาหลังนี้ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบศาลาวัดในชนบทภาคกลางในประเทศไทย ทั้งนี้ผู้สร้างจำลองแบบมาจากภาพศาลาที่อยู่ด้านหลังธนบัตรใบละ ๑ บาท ที่พิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ ๘ ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยาก ต่อมาได้มีการบูรณะซ่อมแซมแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๓๑ โครงการพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านจึงได้เกิดขึ้น และนับเป็นพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านแห่งแรกของประเทศไทย การเดินทาง ใช้เส้นทางสายลพบุรี – บางปะหัน (ถนนเลียบคลองชลประทาน) จนถึง กม.ที่ ๙ วัดจะอยู่ด้านขวามือ มีรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี – บ้านแพรก ออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา ๐๕.๓๐ – ๑๗.๓๐ น. วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร (วัดเขาพระงาม) ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศเหนือตามถนนพหลโยธินไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลเขาพระงาม วัดเขาพระงามนี้เดิมเป็นวัดร้าง สร้างมาแต่เมื่อใดไม่มีปรากฏ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๕ พระอุมาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ กับพระสงฆ์อีกรูปได้ธุดงค์มาพักที่วัดนี้ เห็นว่ามีภูมิประเทศดี จึงได้สร้างพระพุทธรูปที่เขานี้ เป็นพระพุทธรูปที่มีหน้าตักกว้าง ๑๑ วา สูงจากหน้าตักถึงยอดพระเศียร ๑๘ วา เส้นพระศกทำด้วยไหกระเทียม เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายพระนามว่า พระพุทธนฤมิตรมัธยมพุทธกาล ครั้นภายหลังซ่อมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙ จึงเปลี่ยนนามใหม่ว่า พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาลมาจนทุกวันนี้ สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๔๘ ๖๒๐๑ การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑ (ลพบุรี – โคกสำโรง) ระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร จากศาลากลางจังหวัดลพบุรี เมื่อเดินทางเข้าใกล้บริเวณวัด จะแลเห็นพระพุทธรูปสีขาวเด่นตระหง่านอยู่บนเชิงเขา มีรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี – เขาพระงาม – ศูนย์การบิน ผ่านหน้าวัด บริการระหว่างเวลา ๐๖.๐๐-๑๗.๐๐ น. ต้นทางอยู่ที่วัดพรหมาสตร์ สามารถขึ้นรถจากข้างวังนารายณ์ หอไตรวัดท่าแค อยู่ภายในวัดท่าแค เป็นหอไตรที่เก็บพระธรรมของชุมชน “ลาวหล่ม” โดยปกติหอไตรจะสร้างบนเสาสูงในสระน้ำ แต่หอไตรที่วัดท่าแคนี้ มีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น คือ สร้างเป็นเรือนไม้ทรงจตุรมุข ตั้งอยู่บนเสาสูง หลังคามุงด้วยกระเบื้องว่าวและมีหลังคารูปหอคอยอยู่กึ่งกลาง เลียนแบบหลังคาทรงปราสาท เครื่องบนและซุ้มระเบียงตกแต่งด้วยแผ่นไม้แกะสลักแบบตะวันตกทำให้ดูอ่อนช้อยและโปร่งตา ส่วนบานเฟี้ยมที่ใช้กั้นผนังห้องเป็นลายไม้สลักเป็นภาพสัญลักษณ์มงคลของจีน ผนังบางส่วนติดกระจกสีเป็นช่องให้แสงลอดมาได้ สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๔๒ ๗๐๙๔การเดินทาง ใช้เส้นทางเลียบคลองชลประทาน (สะพาน ๖ – อำเภอบ้านหมี่) จนถึงสถานีรถไฟท่าแค เลี้ยวขวาข้ามสะพานประมาณ ๑ กิโลเมตร วัดท่าแคอยู่ทางด้านซ้ายมือ นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี – วัดท่าแค บริการระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. อ่างซับเหล็ก อยู่ในเขตตำบลนิคมสร้างตนเอง ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๑๖ กิโลเมตร อ่างซับเหล็กเป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติที่มีมาแต่โบราณ ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงโปรดให้ช่างชาวฝรั่งเศสและชาวอิตาเลียนเป็นผู้วางท่อส่งน้ำจากอ่างซับเหล็กนำมาใช้ในเขตพระราชฐาน อ่างซับเหล็กมีเนื้อที่ประมาณ ๑,๗๖๐ ไร่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้สร้างเขื่อนดินกั้นน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ จังหวัดลพบุรีได้ปรับปรุงอ่างซับเหล็กให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยทำถนนรอบอ่างเก็บน้ำ ปลูกต้นไม้และสร้างศาลาพักร้อน
อำเภอท่าวุ้งวัดไลย์ อยู่ริมน้ำบางขาม ในเขตตำบลเขาสมอคอน สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยเสด็จไปวัดนี้ และทรงกล่าวไว้ในพระนิพนธ์เรื่องเที่ยวตามทางรถไฟไว้ว่า “วัดไลย์อยู่ริมน้ำบางขาม พ้นเขาสมอคอนไปทางตะวันตกไม่ห่างนัก เป็นวัดเก่าชั้นแรกตั้งกรุงศรีอยุธยา แล้วปฏิสังขรณ์เมื่อรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ยังมีลายภาพของเก่าปั้นเรื่องทศชาติ และเรื่องปฐมสมโพธิงามน่าดูนัก ที่วัดไลย์นี้มีรูปพระศรีอาริย์เป็นของสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งผู้คนนับถือกันมาแต่โบราณ เมื่อรัชกาลที่ ๕ ไฟป่าไหม้วิหารรูปพระศรีอาริย์ชำรุดไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้อัญเชิญลงมาปฏิสังขรณ์ในกรุงเทพฯ แล้วคืนกลับไปประดิษฐานอย่างเดิม ถึงเทศกาลราษฎรยังเชิญออกแห่เป็นประเพณีเมืองมาทุกปีมิได้ขาด” ปัจจุบันทางวัดได้ก่อสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระศรีอาริย์ขึ้นใหม่ ด้านหน้าเป็นรูปมณฑลจตุรมุขแลดูสง่างามมาก นอกจากนี้แล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น พระวิหาร ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น คือ มีลักษณะเจาะช่องผนังแทนหน้าต่าง ภายในมีพระประธานขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง มีซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหารมีภาพปูนปั้นเรื่องทศชาติ และเรื่องปฐมสมโพธิ ซึ่งนับว่าเป็นภาพประติมากรรมฝาผนังขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญยิ่งชิ้นหนึ่งของชาติ นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถ และวิหารรูปมณฑปยอดปรางค์อยู่ใกล้ ๆ กับพระวิหาร และพิพิธภัณฑ์ประจำวัดซึ่งมีของเก่ามากมายให้ชม เช่น พระพุทธรูป เครื่องหมาย เครื่องลายคราม เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยโบราณ และอื่น ๆ อีกมากมาย สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๔๘ ๙๑๐๕ การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑ (ลพบุรี - สิงห์บุรี) แล้วเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๐๒๘ ตรงสี่แยกไฟแดง(กม.ที่๑๘) เข้าไปอีกระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางผ่านหลายสาย คือ สายลพบุรี - ท่าโขลง สายโคกสำโรง - บ้านหมี่ และสายสิงห์บุรี - บ้านหมี่ เขาสมอคอน อยู่ในเขตตำบลเขาสมอคอน ไปตามเส้นทางสายลพบุรี - สิงห์บุรี ถึงกิโลเมตรที่ ๑๘ เลี้ยวขวาเข้าไปอีก ๑๒ กิโลเมตร เป็นเทือกเขาที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ มีตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับเขาสมอคอนอยู่หลายเรื่องที่น่าสนใจจากหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวไว้ว่า “เขาสมอคอนนี้เป็นที่อยู่ของ สุกกทันตฤาษี อาจารย์ของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชและพระยางำเมือง กษัตริย์เมืองพะเยา ซึ่งน่าจะเป็นราชวงศ์หนองแส โยนก เชียงแสน ทั้งสองพระองค์ เพราะเมื่อทรงพระเยาว์ได้เสด็จมาศึกษาศิลปวิทยาที่เขาสมอคอนนี้ ซึ่งสมัยนั้นกษัตริย์เมืองลพบุรีก็เป็นราชวงศ์เดียวกัน...”มีวัดที่สำคัญบนเทือกเขานี้ ๔ วัดด้วยกัน คือ วัดบันไดสามแสน มีโบราณสถานคือ วิหารอยู่หน้าถ้ำ และพระอุโบสถเก่า สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา มีพระอุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะแบบพม่า และ เจดีย์ทรงเรือสำเภา วัดถ้ำช้างเผือก บริเวณเชิงเขามีทำนบดินและอ่างเก็บน้ำโบราณ ประมาณว่าสร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ร่วมสมัยกับอ่างเก็บน้ำและทำนบดินที่ตำบลทะเลชุบศร วัดเขาสมอคอน มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่ทำบัวกลุ่มรองรับองค์ระฆังเป็นเจดีย์มีถ้ำเล็กๆ เรียกว่า ถ้ำพระนอน ภายในมีพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานอยู่ รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จประพาสเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘ สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๕๒ ๑๑๕๙ การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๑๑ (สายลพบุรี - สิงห์บุรี) ถึง กม.ที่ ๑๘ เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๐๒๘ ตรงสี่แยกไฟแดง เข้าไปอีกประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางผ่านทางเข้าเขาสมอคอนบริเวณตลาดท่าโขลงหลายสาย คือ สายลพบุรี - ท่าโขลง สายโคกสำโรง - บ้านหมี่ และสายสิงห์บุรี – บ้านหมี่ หลังจากนั้นต้องเหมารถสองแถว หรือรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างเข้าไปจากปากทาง
อำเภอบ้านหมี่อำเภอบ้านหมี่ เป็นอำเภอที่มีชื่อเสียงในการทอผ้ามัดหมี่ ราษฎรส่วนใหญ่ของอำเภอบ้านหมี่ เป็นไทยพวนที่อพยพมาจากประเทศลาว เมื่อประมาณ ๑๓๐ ปีมาแล้ว และได้นำเอาชื่อบ้านเดิม คือ “บ้านหมี่” มาใช้เป็นชื่อบ้านอพยพมาตั้งหลักแหล่งใหม่นี้ด้วย วัดธรรมิการาม หรือ วัดค้างคาว ตั้งอยู่ริมลำน้ำบางขามฝั่งตะวันตก ตำบลบางขาม เหตุที่ชื่อวัดค้างคาวเพราะว่าเดิมมีค้างคาวอาศัยอยู่มาก ปัจจุบันไม่มีแล้วและได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดธรรมิการาม” วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมฝั่งคลองในหมู่ไม้ร่มรื่น สิ่งที่น่าชมของวัดนี้คือ มีภาพเขียนที่ผนังโบสถ์ ซึ่งเป็นภาพเขียนเรื่องพุทธประวัติทั้ง ๔ ด้าน ลักษณะของภาพเขียนมีลักษณะแบบตะวันตกเข้ามาปนบ้างแล้ว เช่นการแรเงาต้นไม้ และอื่นๆ เป็นภาพเขียนในสมัยรัชกาลที่ ๔ ฝีมือช่างพื้นบ้านที่งดงามมาก สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๔๘ ๙๕๙๓ การเดินทาง ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๑ (สายลพบุรี - สิงห์บุรี) แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๐๒๘ ตรง กม.ที่๑๘ (เส้นทางเดียวกับทางเข้าวัดไลย์)วัดท้องคุ้ง ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านพึ่ง สิ่งที่น่าสนใจ คือ อุโบสถบนเรือสำเภากลางน้ำ ลักษณะอุโบสถสร้างบนเรือสำเภาลอยน้ำอยู่ในแม่น้ำบางขาม นอกจากนี้ยังมีศาลาธรรมสังเวช สร้างประยุกต์เป็นรูปรถโดยสารประจำทาง การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับวัดธรรมมิการาม วัดท้องคุ้งอยู่ห่างมาอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร มีบริการรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี – บ้านหมี่ ผ่านหน้าวัด วัดท้องคุ้งท่าเลา อยู่ริมถนนสายบางงา – บ้านหมี่ ตำบลบ้านพึ่ง สิ่งที่น่าสนใจ คือ ประตูทางเข้าวัดเป็นรูปหนุมานกำลังอ้าปาก ประดับกระจกสีสวยสะดุดตา เป็นความคิดริเริ่มของเจ้าอาวาสที่นำตำนานเมืองลพบุรีที่เกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์มาประยุกต์ในการสร้าง สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๖๔ ๔๒๗๐ การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับวัดท้องคุ้ง อยู่ห่างมาอีกประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร และมีบริการรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี – บ้านหมี่ ผ่านหน้าวัด วัดหนองเต่า (วัดพาณิชธรรมมิการาม) อยู่ที่ตำบลหนองเต่า สิ่งที่น่าสนใจ คือ อุโบสถบนหลังเต่าซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของตำบลหนองเต่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงยกช่อฟ้าอุโบสถ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองบ้านหมี่ ๑๑ กิโลเมตร ตั้งอยู่ริมถนนสายเลียบคลองชลประทาน วัดเขาวงกต เป็นวัดที่อยู่ในวงล้อมของภูเขาสามด้าน บริเวณกว้างขวางถึง ๓๐ ไร่ บนไหล่เขาด้านทิศตะวันตกมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ ถัดลงมามีศาลาเก็บศพหลวงพ่อเจริญ ดิสสวัณโณ อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งมรณภาพไปแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๖ แต่ศพไม่เน่าเปื่อย หน้าวัดมีเจดีย์สร้างอยู่บนเรือสำเภา อนุสรณ์ของหลวงพ่อเภาผู้สร้างวัดนี้ สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ถ้ำค้างคาว ซึ่งอยู่บนไหล่เขาเหนือพระอุโบสถ นับว่าเป็นถ้ำค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดลพบุรี ภายในถ้ำมีค้างคาวนับล้านๆ ตัว รายได้จากค่ามูลค้างคาวที่เข้าวัดแต่ละปีเป็นเงินหลายหมื่นบาท ทุกวันตั้งแต่เวลาประมาณ ๑๘.๓๐ น. ค้างคาวจะพากันบินออกจากปากถ้ำไปหากิน ยาวเป็นสายคล้ายควันไฟ การบินออกหากินนี้จะติดต่อกันไปไม่หยุดจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. และจะเริ่มกลับเข้าถ้ำตั้งแต่เวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. จนถึงประมาณ ๐๖.๐๐ น. จึงจะหมด การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข ๓๑๑ (ลพบุรี – สิงห์บุรี) เช่นเดียวกับวัดท้องคุ้ง จะถึงก่อนเข้าตัวอำเภอบ้านหมี่ ประมาณ ๔ กิโลเมตร มีบริการรถโดยสารประจำทางสายลพบุรี – บ้านหมี่ ลงรถที่สถานีขนส่งบ้านหมี่ แล้วเหมารถรับจ้างจากตลาดบ้านหมี่เข้าไปยังวัดอีกครั้ง
อำเภอโคกสำโรงเขาวงพระจันทร์ บริเวณเชิงเขาจะเป็นที่ตั้งของวัดเขาวงพระจันทร์ จะมีทางบันไดขึ้นไปสู่ยอดเขาประมาณ ๓,๗๙๐ ชั้น ยอดเขานี้สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๖๕๐ เมตร ถ้าวัดจากเชิงเขาถึงยอดเขาโดยแนวบันไดจะยาว ๑,๖๘๐ เมตร ใช้เวลาเดินทางจากเชิงเขาถึงยอดเขาประมาณ ๒ ชั่วโมง สองข้างทางจะเต็มไปด้วยป่าไม้ขึ้นสลับซับซ้อนเต็มไปหมด บางแห่งจะเป็นที่ลาด บางแห่งจะเป็นที่ชัน เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาวงพระจันทร์จะมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกลสุดสายตา ในหน้าเทศกาลเดือนสาม ประชาชนโดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนทั้งใกล้และไกลจะหลั่งไหลกันมานมัสการรอยพระพุทธบาทและพระพุทธรูปบนยอดเขาแห่งนี้อย่างเนืองแน่นเป็นประจำทุกปี สิ่งก่อสร้างและรูปแบบของการแสดงความเคารพที่วัดนี้จึงค่อนข้างจะมีอิทธิพลจีนหรือฝ่ายมหายานอยู่มาก เขาวงพระจันทร์ได้ชื่อว่าเป็นเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดลพบุรี และเป็นภูเขาที่สร้างชื่อเสียงให้ผู้คนรู้จักเมืองลพบุรีมาช้านานแล้ว นอกจากนั้นภูเขานี้ยังเป็นที่มาแห่งตำนานเมืองเรื่องท้าวกกขนาก และเรื่องพระเจ้ากงจีน อีกด้วย สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๖๕ ๐๑๘๘ การเดินทาง มีรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่ง สายลพบุรี – โคกสำโรง ผ่านทางหน้าวัดและเหมารถรับจ้างจากปากทางเข้าวัดเข้าไปอีกประมาณ ๕ กิโลเมตร
อำเภอพัฒนานิคมทุ่งทานตะวัน จังหวัดลพบุรี มีการปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ – ๓๐๐,๐๐๐ ไร่ ดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ทานตะวันเป็นพืชทนแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกแทนข้าวโพด เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการ นิยมใช้สกัดทำน้ำมันปรุงอาหาร หรืออบแห้ง เพื่อรับประทาน หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และยังสามารถเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพส่งเสริมได้อีกด้วย จึงทำให้ได้ผลผลิต คือ น้ำผึ้งจากดอกทานตะวันอีกทางหนึ่ง แหล่งปลูกทานตะวัน กระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล พื้นที่ที่ปลูกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ บริเวณเขาจีนแล ใกล้วัดเวฬุวัน ตำบลโคกตูม อำเภอเมืองลพบุรี การเดินทาง จากลพบุรี ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน (ลพบุรี-สระบุรี) ถึงกิโลเมตรที่ ๔ เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๑๗ (ทางไปตำบลโคกตูม) ระยะทางประมาณ ๘ กิโลเมตร จะถึงทางเข้าวัดเวฬุวัน (ด้านซ้ายมือ) เลี้ยวเข้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร จะถึงทุ่งทานตะวัน สำหรับรถโดยสารประจำทาง มีรถสองแถวลพบุรี–วังม่วง ผ่านทางเข้าวัดเวฬุวัน รถออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ – ๑๗.๓๐ น.นอกจากนี้ยังมีแหล่งปลูกทานตะวันกระจัดกระจายไปตามเส้นทางที่จะไปอำเภอพัฒนานิคม บริเวณช่องสาริกา (เข้าทางวัดมณีศรีโสภณ) ริมทางหลวงหมายเลข ๒๑ หมายเหตุ สอบถามบริเวณพื้นที่ปลูกทานตะวัน ก่อนการเดินทาง สำนักงานเกษตรอำเภอพัฒนานิคม โทร. ๐ ๓๖๔๙ ๑๑๓๓, ๐ ๓๖๔๙ ๑๒๕๘ วัดพรหมรังษี เดินทางจากจังหวัดลพบุรี ซอย ๑๒ ริมทางหลวงหมายเลข ๒๑ ตำบลดีลัง อยู่บริเวณสี่แยกพอดี ห่างจากตัวอำเภอพัฒนานิคมประมาณ ๙ กิโลเมตร เหตุที่วัดนี้มีชื่อว่าวัดพรหมรังษี สืบเนื่องมาจากในสมัยหนึ่ง สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ได้เดินธุดงค์และได้หยุดพักปักกลด ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาผู้ที่มีศรัทธาในพุทธศาสนาจึงได้ร่วมใจกันสร้างวัดและถวายนามนี้เป็นอนุสรณ์ วัดนี้มีพระอุโบสถทรงจตุรมุข พระเจดีย์ทรงระฆังคล้ายพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชและสิ่งก่อสร้างอื่นที่มีความสวยงาม รอบๆ บริเวณมีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยและมีการดูแลรักษาความสะอาดเป็นอย่างดี ผู้ที่ผ่านไปมามักแวะชมวัดนี้เสมอ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่บ้านแก่งเสือเต้น ตำบลหนองบัว เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับเขื่อนแห่งนี้ สร้างภายใต้โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว ๔,๘๖๐ เมตร ความสูงที่จุดสูงสุด ๓๖.๕๐ เมตร จุดเด่นที่น่าสนใจภายในเขื่อน ได้แก่ จุดชมวิวสันเขื่อน พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งแสดงความรู้ด้านธรรมชาติ และวัฒนธรรม เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ทาเงขื่อนมีบริการบ้านพักสวัสดิการชลประทานเขื่อนป่าสัก โทร.๐ ๓๖๔๙ ๔๒๔๓ สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๔๙ ๔๐๓๒-๓ การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรีใช้เส้นทางลพบุรี - โคกตูม - พัฒนานิคม (ทางหลวงหมายเลข ๓๐๑๗) ระยะทาง ๔๘ กิโลเมตร มีบริการรถสองแถวลพบุรี - วังม่วง ผ่านหน้าเขื่อนป่าสักชลสิทธ์ รถออกจากสถานีขนส่งลพบุรี ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ - ๑๗.๓๐ น.นอกจากนี้ในช่วงปลายปียังมีบริการท่องเที่ยวทางรถไฟขบวนพิเศษ ไป-กลับ กรุงเทพฯ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ สอบถามรายละเอียดที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๑๖๙๐ และนักท่องเที่ยวยังสามารถเลือกใช้บริการนั่งรถไฟชมเขื่อนได้ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟลพบุรี โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๑๐๒๒ โอเอซิสฟาร์ม ตั้งอยู่เลขที่ ๘๕/๒ หมู่ ๑๓ ตำบลช่องสาริกา เป็นฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศครบวงจรในทุ่งหญ้าริมเชิงเขาสไตล์ซาฟารี สนุกสนานกับกิจกรรมป้อนอาหารและถ่ายรูปคู่อย่างใกล้ชิดท่ามกลางทุ่งทานตะวันบานสะพรั่งตามฤดูกาล (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ของทุกปี) เลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนกกระจอกเทศ เช่น กระเป๋า เข็มขัด เนื้อนกกระจอกเทศ ฯลฯ อัตราค่าเข้าชม คนละ ๑๐ บาท หมู่คณะหรือกรุ๊ปทัวร์ที่ต้องการวิทยากรบรรยายคนละ ๒๐ บาท กรุณาติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชม โทร. ๐ ๓๖๔๕ ๑๒๖๑, ๐๘ ๑๗๘๐ ๘๙๒๘, ๐๘ ๑๔๖๖ ๓๓๔๙ การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรี ใช้เส้นทางสายลพบุรี-โคกตูม-พัฒนานิคม (ทางหลวงหมายเลข ๓๐๑๗) ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ถึงสี่แยกไฟแดงปั้มน้ำมันคาร์เท็กซ์เลี้ยวขวาประมาณ ๒ กิโลเมตร อยู่ทางด้านขวามือ ศูนย์อนุรักษ์ผึ้ง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๘๐ ซอย ๒๔ สายตรี หมู่ ๙ ตำบลพัฒนานิคม เป็นศูนย์อบรมและเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ในประเทศไทย เป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้งมากกว่า ๔๐ ชนิด เช่น น้ำผึ้งแท้จากดอกทานตะวัน นมผึ้ง เกสร เทียนไข ฯลฯ สวนเหรียญทอง เป็นสวนเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว มีชื่อเสียงด้านการฝากกิ่งมะม่วง เพื่อให้ได้ผลผลิตมากเป็นพิเศษ (กิ่งละประมาณ ๒๐ ผล) กิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ชมวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และฝากท้องมะม่วง นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์แปรรูปเกษตรของกลุ่มแม่บ้านต่างๆ สอบถามรายละเอียดโทร. ๐ ๓๖๔๙ ๑๑๗๒ การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรี ใช้เส้นทางสายลพบุรี - โคกตูม - พัฒนานิคม (ทางหลวงหมายเลข ๓๐๑๗) อยู่ก่อนถึงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ประมาณ ๓ กิโลเมตร มีบริการรถสองแถวลพบุรี - วังม่วง ผ่านทางเข้าสวนเหรียญทอง และจากนั้นต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ ๕๐๐ เมตร พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านโป่งมะนาว อยู่ที่หมู่ ๗ ตำบลห้วยขุนราม อยู่ห่างจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ๒๖.๕ กิโลเมตร เป็นแหล่งโบราณคดีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ ๒,๕๐๐-๓,๐๐๐ ปี ประมาณยุค “บ้านเชียงตอนปลาย” มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณถึง ๑๓ โครงกระดูกภายในหลุมเดียวกัน ทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐ น. สอบถามรายละเอียด อบต.ห้วยขุนราม โทร. ๐ ๓๖๔๕ ๑๐๐๙ การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรี ใช้เส้นทางสายลพบุรี - โคกตูม - พัฒนานิคม - อ.วังม่วง(สระบุรี) เข้าทางเดียวกับน้ำตกสวนมะเดื่อ ไม่มีรถประจำทางผ่าน
อำเภอชัยบาดาลสวนรุกขชาติน้ำตกวังก้านเหลือง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าดินดำ น้ำตกวังก้านเหลืองนี้ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี เนื่องจากมีต้นน้ำเกิดจากตาน้ำใต้ดินขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ห่างจากบริเวณน้ำตกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตรสอบถามรายละเอียด การเดินทาง จากตัวเมืองลพบุรีไปน้ำตกวังก้านเหลืองใช้เส้นทางลพบุรี-โคกสำโรง (ทางหลวงหมายเลข ๑) จากนั้นใช้เส้นทางโคกสำโรง-ชัยบาดาล (ทางหลวงหมายเลข ๒๐๕ ) ถึงบริเวณที่บรรจบกับทางหลวงหมายเลข ๒๑ แล้วต่อเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๐๘๙ ไปอำเภอท่าหลวงประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าตัวน้ำตกอีกประมาณ ๗ กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกวังก้านเหลืองซึ่งจะอยู่ทางขวามือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ ตั้งอยู่ในท้องที่บางส่วนของ ตำบลซับตะเคียน ตำบลหนองยายโต๊ะ ตำบลบัวชุม และตำบลนาโสม มีเนื้อที่ประมาณ ๘,๔๔๐ ไร่ ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ เป็นเทือกเขาหินปูน มีลักษณะสูงชันยาวทอดตัวไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีถ้ำและหน้าผาจำนวนมาก มีที่ราบในหุบเขา ๒ แห่ง และที่ราบบนเขา ๑ แห่ง มีแหล่งน้ำซับกระจายอยู่ทั่วไป จึงเป็นป่าต้นน้ำที่มีความสำคัญมาก นอกจากนี้ภายในบริเวณเขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะที่วัดถ้ำพรหมโลก ค้นพบขวานหินตัด ยุคสมัยหินตอนปลาย อายุราว ๓,๐๐๐ ปี ใบหอกสำริดภาชนะดินเผาในยุคโลหะ อายุประมาณ ๒,๕๐๐ ปี พระพุทธรูปสลักด้วยไม้สมัยอยุธยาตอนปลาย หรือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ มีสภาพป่าไม้และสัตว์ป่าที่สมบูรณ์ มีบริการจัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อาทิ พรรณพืชชนิดต่างๆ นิเวศวิทยา ตลอดจนซากฟอสซิลอายุประมาณ ๒๘๐ ล้านปี ซึ่งเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยาสำคัญ ที่แสดงว่าบริเวณเทือกเขานี้เคยเป็นไหล่ทวีป อยู่ใต้น้ำมาก่อน นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมที่วัดเขาสมโภชน์ วัดถ้ำพรหมโลก และบริเวณใกล้วัดถ้ำพรหมโลกมีลานยุคหินผุดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติให้ชมอีกด้วย สถานที่ติดต่อ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ ตู้ ปณ.๑๙ ปทจ.ลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ๑๕๑๓๐ หรือ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี โทร. ๐ ๓๖๔๒ ๒๗๗๗ การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑ ถึงทางแยกขวาเข้าอำเภอชัยบาดาล ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๐๕ จากอำเภอชัยบาดาลไปอำเภอลำสนธิ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ถึงวัดเขาตำบลด้านซ้ายมือ แล้วเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางเข้าสู่วัดพรหมโลก ระยะทาง ๗ กิโลเมตร ถึงที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ วัดป่าศรีมหาโพธิ์วิปัสสนา ๒๙/๑ หมู่ ๔ หมู่บ้านศรีมหาโพธิ์พัฒนาธานี ตำบลบัวชุม เป็นสถานที่วิปัสสนาของชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นวัดรักษาโรคของหลวงพ่อคง จตมโล ผู้สนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ คุณกัญญาโทร. ๐๘ ๙๗๔๖ ๑๑๑๗ หรือ คุณแดง(การบินไทย) เป็นผู้ให้ข้อมูล ๐ ๒๕๑๑ ๐๕๕๐, ๐ ๒๕๑๒ ๑๘๕๙ ไร่ชัยนารายณ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยนารายณ์ ทางหลวงหมายเลข ๒๑ (สระบุรี-หล่มสัก) กิโลเมตรที่ ๖๔ เข้าซอยตรงข้ามป้อมตำรวจชุมชนตำบลหนองเต่า ผ่านวัดธารรัฐการามเลี้ยวซ้าย ไปประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บนเนื้อที่ ๑,๐๙๖ ไร่ ภายในประกอบด้วยสวนสุขภาพ ฟาร์มเพาะพันธุ์สัตว์ เช่น ม้า แพะ แกะ กระต่าย ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลา ฟาร์มพืชเกษตรล้มลุก สวนสมุนไพร สวนพักผ่อนและสันทนาการ ประกอบด้วยสนามยิงปืน สนามจักรยานเสือภูเขา สวนอาหาร แค้มป์ปิ้ง สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๘ ๑๗๒๐ ๓๖๐๖, ๐๘ ๑๔๔๗ ๐๕๒๐
อำเภอลำสนธิปรางค์นางผมหอม อยู่ห่างจากตลาดหนองรีประมาณ ๒ กิโลเมตร ในเขตบ้านโคกคลี ลักษณะของปรางค์นางผมหอมนี้ เป็นปรางค์องค์เดียวโดดๆ ก่อด้วยอิฐไม่ถือปูน เช่นเดียวกับเทวสถานปรางค์แขก สภาพปัจจุบันยอดหักลงมาหมดแล้ว มีประตูเข้าภายในปรางค์ได้ ภายในปรางค์เป็นห้องโถง กรอบประตูสร้างด้วยแท่งหิน รอบๆ ปรางค์ยังมีหินก้อนใหญ่อยู่เกลื่อนกลาด ห่างจากปรางค์นางผมหอมไม่มากนักเป็นด่านกักสัตว์บ้านโคกคลี เป็นเนินดินมีซากอิฐ เข้าใจว่าเป็นฐานวิหาร หรือเจดีย์ ชาวบ้านเรียกโคกคลีน้อย ยังมีเนินกว้างอีกแห่งหนึ่งเรียกโคกคลีใหญ่ ที่ตั้งของปรางค์นางผมหอมมีแม่น้ำมาบรรจบกันสองสาย คือ ลำสนธิกับลำพระยากลาง สันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้แต่เดิมเป็นเมืองโบราณ และจากการขุดแต่งโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ พบหลักฐานเพิ่มเติม คือ ชิ้นส่วนของเครื่องประดับตกแต่งองค์ปรางค์ ทำด้วยหินทรายเป็นรูปสตรีนุ่งผ้าตามศิลปะเขมรแบบบายน สันนิษฐานว่าปรางค์องค์นี้มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ตั้งอยู่ที่บ้านลังกาเชื่อม ตำบลลำสนธิ ตำบลกุดตาเพชร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ ๙๖,๘๗๕ ไร่ เป็นที่ราบอยู่ในหุบเขา ถูกกั้นด้วยเทือกเขาพังเพย ทิศตะวันตกเป็นเขารวก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๑๔๐-๘๔๖ เมตร ความสำคัญของพื้นที่ คือ ป่าซับลังกามีสภาพสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำลำสนธิ และแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ปัจจุบันยังมีเลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนอาศัยอยู่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติจัดไว้ 2 เส้นทาง เส้นแรกคือ ห้วยพริก-น้ำตกผาผึ้ง-ถ้ำผาผึ้ง ระยะทางไป-กลับประมาณ 3,200 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที เป็นเส้นทางที่ไม่ลำบากเกินไปนักสำหรับนักท่องธรรมชาติหน้าใหม่ ระหว่างเส้นทางจะผ่าน น้ำตกผาผึ้ง ซึ่งเป็นน้ำตกเล็กๆ แต่มีความสวยงามเพราะบรรยากาศรอบข้างที่ร่มรื่นด้วยไม้ใหญ่นานาพรรณและเหมาะสำหรับเป็นจุดพักระหว่างทาง และหากชื่นชมธรรมชาติด้วยความสงบอาจมีโอกาสได้เห็นสัตว์เล็กๆ เช่น เต่า และ นกต่างๆ ออกมาให้ได้ยลโฉม จากนั้นเดินต่อไปยังถ้ำผาผึ้งก่อนที่จะต้องใช้ฝีมือในการปีนป่ายหินแหลมคมเพื่อชมดงจันทน์ผาซึ่งเป็นไม้ดึกดำบรรพ์ที่มีรูปทรงงดงาม และในช่วงปลายฝนต้นหนาวกล้วยไม้รองเท้านารีที่ซ่อนตัวอยู่ในดงจันทน์ผานี้จะเบ่งบานพร้อมกันในฤดูนี้ สำหรับจุดเริ่มต้นเดินเท้าเส้นทางนี้คือ ห้วยแม่พริก ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการเป็นระยะทาง 9 กิโลเมตร ต้องใช้รถที่สภาพดี กำลังดีพร้อมที่จะลุยทางลูกรังที่ค่อนข้างเละ แต่ผู้ที่ไม่มีรถและไปกันเป็นคณะ สามารถว่าจ้างรถอีแต๋น ของชาวบ้านซึ่งเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นทางอ้อมด้วย โดยติดต่อล่วงหน้า โทร. ๐ ๓๖๔๕ ๑๙๓๖ อีกเส้นหนึ่ง คือ ห้วยประดู่ เริ่มต้นด้วยการล่องแพ ซึ่งจุคนได้ประมาณ 35 คน ไปยังจุดเริ่มต้นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติซึ่งมีระยะทาง 1,500 เมตร ระหว่างเส้นทางเดินสามารถชมถ้ำสมุยกุย และถ้ำพระนอกได้ ใช้เวลาสำหรับเส้นทางนี้ประมาณ 1ชั่วโมง 30 นาที สิ่งที่ควรนำไปด้วย สำหรับการเที่ยวที่ซับลังกา คือ รองเท้าที่กระชับรัดกุมเพื่อความคล่องตัวในการเดินย่ำน้ำตกและโขดหินลื่นหรือปีนป่ายหน้าผาหินแหลมคม ยาทากันยุง และที่สำคัญ คือ จิตสำนึกในการเป็นนักท่องธรรมชาติที่ดีการเดินทาง ไปยังที่ทำการเขตฯใช้เส้นทางหมายเลข ๒๐๕ จากอำเภอชัยบาดาลไปอำเภอลำสนธิ ประมาณ ๓๑ กิโลเมตร จะมีทางแยกเข้าตำบลกุดตาเพชร ระยะทางประมาณ ๓๗ กิโลเมตร ติดต่อขออนุญาตเข้าพื้นที่ล่วงหน้าได้ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ตำบลกุดตาเพชร อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ทหาร ลพบุรี เป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศมาตั้งแต่สมัยโบราณ จึงถูกเลือกให้เป็นที่มั่นแห่งที่ ๒ ของประเทศมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา การพัฒนาด้านการทหารของจังหวัดลพบุรี ปรากฏเด่นชัดในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีทำให้กิจการด้านการทหารของลพบุรีมีความสำคัญมากเป็นอันดับ ๒ รองจากกรุงเทพมหานคร กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ทหารหน่วยต่างๆที่น่าสนใจ ได้แก่ กิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (อ.เมือง)ได้แก่ การสาธิตการดำรงชีพในป่า การกระโดดหอสูง ๓๔ ฟุต การฝึกกระโดดร่มจากบอลลูน การยิงปืน ไต่หน้าผา ทัวร์ป่าทางทหาร และชมพิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ ซึ่งจัดแสดงภาพและอุปกรณ์ต่างๆเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการ และภาพกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยรบพิเศษ ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน กิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ทหารค่าย A03 (อ.เมือง) ทางเข้าอ่างเก็บน้ำซับเหล็ก ตำบลโคกตูม เป็นศูนย์รวมกิจกรรมในรูปแบบของการทดสอบกำลังใจและการดำรงชีวิตแบบทหาร อาทิ การกระโดดหอสูง ๓๔ ฟุต ไต่หน้าผาจำลอง ยิงปืน สะพานเชือก พายเรือแคนู สถานที่ติดต่อ : กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๒๑๙๒ (ในเวลาราชการ) หรือ ๐๘ ๑๙๔๗ ๒๘๐๐ (นอกเวลาราชการ)แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ (อ.เมือง) ได้แก่ สถาปัตยกรรมสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แก่ ตึกชาโต้ (ตึกบัญชาการเขาน้ำโจน) ตึกพิบูลสงคราม และยังมีพิพิธภัณฑ์จอมพล ป.พิบูลสงคราม พิพิธภัณฑ์ทหารปืนใหญ่ พิพิธภัณฑ์พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา และอุทยานพฤกษศาสตร์ เปิดในวันเวลาราชการ หากต้องการเข้าชมวันเสาร์อาทิตย์ กรุณาติดต่อล่วงหน้า สถานที่ติดต่อ : แผนกกิจการพลเรือน กองยุทธการและการข่าว ศูนย์การทหารปืนใหญ่ โทร. ๐ ๓๖๔๘ ๖๔๓๓-๔ ต่อ ๓๙๐๓๙, ๓๙๐๔๘ แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่มณฑลทหารบกที่ ๑๓ (อ.เมือง) ได้แก่ สนามกอล์ฟ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปิดบริการสำหรับบุคคลภายนอก ค่า Green Fee (๑๘ หลุม) เปิดทุกวัน ๐๕.๓๐-๑๗.๓๐ น.สถานที่ติดต่อ : มทบ.๑๓ โทร. ๐ ๓๖๔๑ ๓๑๓๓, ๐ ๓๖๔๒ ๒๗๓๔-๕ ต่อ ๓๗๓๙๓ แหล่งท่องเที่ยวภายในโรงพยาบาลอานันทมหิดล (อ.เมือง)ได้แก่ ห้องแสดงพระราชประวัติรัชกาลที่ ๘ อยู่ในตึกอำนวยการโรงพยาบาลอานันทมหิดล จัดแสดงภาพพระราชประวัติเมื่อครั้งเสด็จมาเปิดโรงพยาบาล เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สถานที่ติดต่อ : โรงพยาบาลอานันทมหิดล
แหล่งหัตถกรรมและสินค้าพื้นเมือง อำเภอเมืองลพบุรี หมู่บ้านดินสอพอง ลพบุรีได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตดินสอพองที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งเดียวในประเทศไทย แหล่งผลิตอยู่ที่ หมู่บ้านหินสองก้อน ตำบลทะเลชุบศร (ริมคลองชลประทาน บริเวณสะพาน ๖) เป็นหมู่บ้านที่มีการทำดินสอพองกันแทบทุกครัวเรือน และบริเวณนั้นจะมีดินสีขาว เรียกกันว่า ดินมาร์ล มีเนื้อเนียนขาวละเอียดแน่น จึงไม่เหมาะแก่การปลูกพืช แต่ด้วยภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ได้นำมาผลิตเป็นดินสอพองซึ่งสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น แป้ง เครื่องสำอาง ยาสีฟัน ตกแต่งผิวเครื่องเรือน เป็นต้น สถานที่ติดต่อ : กลุ่มอาชีพทะเลชุบศร หมู่ ๖ ผู้ใหญ่สมปอง หมู่ ๑ โทร. ๐๘ ๙๗๔๔ ๙๒๙๔ ไข่เค็มดินสอพอง ของฝากที่มีชื่อเสียงของลพบุรี โดยนำดินสอพองมาผสมกับเกลือและน้ำตามสัดส่วน นำมาพอกไข่เค็มดินสอพองลพบุรี ไม่เค็มมากนัก สามารถนำไปทำไข่หวาน ไข่ดาว ไข่ต้ม และปรุงอาหารได้ ที่ขึ้นชื่อ คือ ไข่เค็มผัดพริกขิง แหล่งผลิตได้แก่ ชมรมแม่บ้านพัน ปจว.กองพันปฏิบัติการจิตวิทยาศูนย์สงครามพิเศษ ถนนนารายณ์มหาราช โทร. ๐ ๓๖๔๒ ๑๗๐๐-๙ การหล่อโลหะ (ทองเหลือง) ชุมชนบ้านท่ากระยาง เป็นที่รวมของบ้านช่างหล่อทองเหลืองซึ่งมีความเชี่ยวชาญ ทำสืบต่อกันมายาวนาน มีการหล่อพระพุทธรูปด้วยทองเหลือง หล่อรูปต่างๆ และหล่อผลิตภัณฑ์เลียนแบบของเก่าด้วย ปัจจุบันมีการรวมตัวกันเป็นชมรมช่างหล่อทองเหลือง บ้านท่ากระยาง มีศูนย์รวมการผลิตและจำหน่ายอยู่ที่ ๑๖๘ หมู่ ๑ ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี โทร. ๐ ๓๖๔๒ ๑๔๖๙ เพชรเขาพระงาม อัญมณีมีชื่อเสียงของ จังหวัดลพบุรี เพชรเขาพระงามเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า หินเขี้ยวหนุมาน หรือทางธรณีวิทยาเรียกว่า ควอร์ซ เป็นแร่กึ่งรัตนชาติที่มีผลึกแร่ใสบริสุทธิ์ หรือมีสีและลวดลายต่างๆ สามารถนำมาเจียระไน เพื่อทำเป็นเครื่องประดับได้เช่นเดียวกับรัตนชาติอื่นๆ และมีราคาถูก แหล่งผลิตอยู่ที่ บริเวณตำบลเขาพระงาม ฟาร์มเห็ดขจรวิทย์ เป็นแหล่งส่งเสริมการเพาะเห็ดแห่งใหญ่ที่สุดของลพบุรี อยู่ที่ตำบลนิคมสร้างตนเอง มีเห็ดซึ่งมีคุณค่าทางอาหารหลายชนิด เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าภูฏาน เป็นต้น แหล่งผลิตและจำหน่ายอยู่ที่ ๗๑/๑ หมู่ ๖ ตำบลนิคมสร้างตนเอง (ใกล้อ่างซับเหล็ก) โทร. ๐ ๓๖๖๕ ๒๔๔๒
อำเภอบ้านหมี่หมู่บ้านทอผ้ามัดหมี่ เป็นแหล่งทอผ้าพื้นเมืองลายเอกลักษณ์ของชาวไทยพวน เรียกว่า มัดหมี่ ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบลายผ้าและสีให้ทันสมัยยิ่งขึ้น นับเป็นแหล่งทอผ้ามัดหมี่ที่มีคุณภาพชั้นเยี่ยมของประเทศ มีการรวมกลุ่มกันทอผ้าตามหมู่บ้านต่างๆ ในแถบ ตำบลบ้านกล้วย ตำบลบ้านทราย ตำบลหินปัก ศูนย์สาธิตและจำหน่าย ได้แก่ ศูนย์ศิลปาชีพประชาสุขสันต์ ๘๔ หมู่ ๔ ตำบลบ้านกล้วย กลุ่มทอผ้าบ้านหมี่ ๘๐ หมู่ ๑ ตำบลบ้านกล้วย (ไปตามถนนสายบ้านหมี่-โคกสำโรง ประมาณ ๒ กิโลเมตร) โทร. ๐ ๓๖๔๗ ๑๙๐๔ ส้มฟัก เป็นอาหารที่ทำจากการหมักเนื้อปลาด้วยเกลือ ข้าวสุกบด และกระเทียมดอง นำมานวดจนแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วหมักเช่นเดียวกับหมักแหนม เนื้อปลาที่ใช้เป็นเนื้อปลาที่มีสีขาวละเอียด เช่น ปลากราย ปลาสลาด ปลายี่สก ใช้เวลาหมัก ๓ วัน จึงจะเปรี้ยวได้ที่ รับประทานเป็นกับแกล้ม แหล่งผลิตอยู่ที่อำเภอบ้านหมี่ ปลาส้ม เป็นอาหารที่นิยมกันมากอีกชนิดหนึ่ง ใช้ปลาตะเพียนขอดเกล็ดผ่าท้องควักไส้ออก คลุกเกลือให้ทั่วตัวปลา แล้วนำข้าวสุกผสมกระเทียมใส่เข้าไปในท้องปลา หมักจนได้ที่ เวลารับประทานนำมาทอดให้สุกจะมีกลิ่นหอม เนื้อปลามีรสเปรี้ยวเล็กน้อย
อำเภอท่าวุ้งวุ้นน้ำมะพร้าว ของฝากขึ้นชื่อของลพบุรี ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยผลิตในรูปของอาหาร (ของหวาน) ใช้รับประทานกับน้ำแข็ง ตัววุ้นเกิดจากกระบวนการหมักน้ำส้มสายชูด้วยน้ำมะพร้าวกับจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดน้ำส้ม จะเกิดแผ่นวุ้นลอยบนผิวหน้าของน้ำส้มสายชูหมัก มีสีขาวคล้ายดอกเห็ดจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาของการหมัก เรียกกันว่า “เห็ดวุ้นน้ำมะพร้าว” หรือ “วุ้นมะพร้าว” หลังจากนั้นก็จะนำแผ่นวุ้นมาผสมกับน้ำเชื่อมรสต่างๆ บรรจุขวด แหล่งผลิต ได้แก่ โรงงานน้ำทิพย์วุ้นมะพร้าว ๑๑๐ หมู่ ๙ ตำบลบางขันหมาก โทร. ๐ ๓๖๔๒ ๐๕๙๐ ณัฐธิดา ฟาร์ม ๘๒ หมู่ ๖ ตำบลโพตลาดแก้ว อำเภอท่าวุ้ง โทร. ๐ ๓๖๖๔ ๕๑๕๐


อำเภอโคกสำโรง หมู่บ้านแกะสลักหินทราย ผลิตกันแทบทุกครัวเรือนที่บ้านหนองแล้ง ตำบลเพนียด โดยนำหินทรายบริเวณเชิงเขามาแกะสลัก ในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำเป็นผลิตภัณฑ์เลียนแบบของเก่า วัสดุแต่งสวน พระพุทธรูป ใบเสมา และลูกนิมิต เป็นต้น
อำเภอพัฒนานิคม ผลิตภัณฑ์จากเปลือกข้าวโพด ในพื้นที่ของอำเภอพัฒนานิคม มีการปลูกข้าวโพดกันมาก เมื่อมีการเก็บผลผลิตแล้ว จะนำเปลือกข้าวโพดมาตากแห้ง จากนั้นนำมาย้อมสีและประดิษฐ์เป็นงานหัตถกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น ดอกไม้ ตุ๊กตา พวงกุญแจ เป็นต้น มีการรวมกลุ่มกันผลิตและจำหน่ายที่หมู่บ้านน้ำคูน (ซอย ๒๑) เลขที่ ๓๓ หมู่ ๗ ตำบลพัฒนานิคม นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ และผลไม้ตามฤดูกาลที่น่าสนใจ เช่น เสื่อทอ ที่ตำบลบ้านท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล จักสานผักตบชวา ที่ตำบลบ้านเบิก ตำบลบางลี่ อำเภอท่าวุ้ง กระท้อน ที่ตำบลตะลุง อำเภอเมืองลพบุรี น้อยหน่า (พันธุ์ปุยฝ้าย) ที่บ้านน้ำจั้น อำเภอเมืองลพบุรี เป็นต้น โทร. ๐ ๓๖๖๓ ๙๑๐๕
เทศกาลงานประเพณี งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่มีต่อลพบุรีและประเทศชาติ เนื่องจากเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สองในสมัยนั้นที่พระองค์ทรงโปรดปรานประทับอยู่ที่นี่นานเกือบตลอดปี เฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้นจึงจะเสด็จไปประทับ ณ กรุงศรีอยุธยา ในงานมีกิจกรรมต่างๆมากมาย อาทิ การแสดงแสงและเสียง การแสดงสาธิตวิถีชีวิตไทย งานราตรีวังนารายณ์ การละเล่นของเด็กไทย (จุก แกละ โก๊ะ เปีย) และการละเล่นพื้นเมืองมหรสพ และการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง งานเลี้ยงโต๊ะจีนลิง จัดขึ้นในวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ณ บริเวณศาลพระกาฬ และพระปรางค์สามยอด บริเวณนี้มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บรรดานักท่องเที่ยวที่มานมัสการเจ้าพ่อพระกาฬ มักจะนำอาหารและผลไม้มาเลี้ยงลิงทำให้ลิงมีความเชื่องและคุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวมากขึ้น ในงานมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การเลี้ยงอาหารที่ตกแต่งอย่างสวยงามเป็นพิเศษสำหรับลิง การแสดงพื้นบ้าน เป็นต้น งานทุ่งทานตะวันบานที่ลพบุรี จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ดอกทานตะวันบาน ปัจจุบันจังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ปลูกทานตะวันนับแสนไร่ ก่อนที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิต ดอกทานตะวันจะบานเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามของจังหวัดลพบุรี กิจกรรมที่น่าสนใจในงาน อาทิ การประกวดรถบุปผชาติ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากทานตะวัน การแข่งขันแรลลี่ประเภทต่างๆ ประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวน ซึ่งมีอยู่หลายหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอบ้านหมี่ จัดขึ้นเพื่อขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้าและบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มักจะถือเอาวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันสุกดิบ และรุ่งขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ จะเป็นวันกำฟ้า โดยชาวบ้านจะร่วมกันใส่บาตรด้วยข้าวหลามและข้าวจี่ ตกบ่ายมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น มอญซ่อนผ้า ช่วงชัย หม่าเบี้ย หมากันห่าน ประเพณีใส่กระจาด หรือประเพณีเสื่อกระจาด ตามภาษาพวน เรียกว่า “เส่อกระจาด” เป็นประเพณีของชาวไทยพวนซึ่งถือปฏิบัติกันในเขตอำเภอบ้านหมี่ จัดให้มีขึ้นในงานเทศกาลเทศมหาชาติ ส่วนมากจะกำหนดในเทศกาลออกพรรษา (เดือน ๑๑) ข้างแรม ก่อนถึงวันใส่กระจาดหนึ่งวัน ชาวบ้านจะช่วยกันทำขนมห่อข้าวต้ม ตำข้าวปุ้น รุ่งขึ้นจะเป็นวันใส่กระจาด ชาวบ้านจะนำของ เช่น กล้วย อ้อย ส้ม ธูปเทียน หรืออื่นๆ มาใส่กระจาดตามบ้านของคนรู้จัก เจ้าของบ้านจะนำอาหารที่เตรียมไว้มาเลี้ยงรับรองแขก เมื่อแขกกลับ เจ้าของบ้านจะนำข้าวต้มมัดฝากไปให้ เรียกว่า “คืนกระจาด” ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันเทศก์มหาชาติ เป็นการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ประจำปี ประเพณีชักพระศรีอาริย์ วัดไลย์ หรือประเพณีแห่พระศรีอาริย์ ถือปฏิบัติกันมาช้านาน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี ทางวัดจะจัดให้มีการอัญเชิญพระศรีอาริย์มาประดิษฐานบนแท่นตะเฆ่ แล้วให้ประชาชนร่วมกันชักพระไปทางทิศเหนือ เริ่มจากวัดไลย์ไปสุดทางที่วัดท้องคุ้ง แล้วชักกลับมายังวัดไลย์ ระหว่างทางจะมีผู้เข้าร่วมขบวนเป็นจำนวนมาก มีการหยุดขบวนในแต่ละจุด เพื่อให้ผู้ที่ศรัทธาได้สรงน้ำและนมัสการ ตลอดระยะทางจะมีผู้ตั้งโรงทานสำหรับเลี้ยงอาหารฟรีแก่ผู้เข้าร่วมขบวนแห่นับสิบแห่ง